โทรศัพท์ 1358

ศภ.1 กสอ. ลงพื้นที่ติดตามผลลัพธ์การพัฒนาผู้ประกอบการชุมชนรุ่นใหม่ (Start up) พื้นที่จังหวัดเชียงราย
ศภ.1 กสอ. ลงพื้นที่ติดตามผลลัพธ์การพัฒนาผู้ประกอบการชุมชนรุ่นใหม่ (Start up) พื้นที่จังหวัดเชียงราย
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. พร้อมเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่จังหวัดเชียงราย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามผลลัพธ์ของผู้ประกอบการ หลังจากได้เข้าร่วมโครงการของ ศภ.1 กสอ. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 เสร็จสิ้น พร้อมทั้งรับฟังปัญหา ความต้องการของผู้ประกอบการ ในสถานการณ์ โควิด-19 โดยลงพื้นที่ ดังนี้ 1. กลุ่มหัตถกรรมผ้าทอหาดบ้าย : ต.ริมโขง อ.เชียงของ จ.เชียงราย เข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้ประกอบการชุมชนรุ่นใหม่ (Start up) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 เป็นผู้ผลิตผ้าทอมือไทลื้อบ้านหาดบ้าย และเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากผ้าทอไทลื้อบ้านหาดบ้าย ได้นำองค์ความรู้จากการเข้าร่วมโครงการมาวางแผนในการทำงานให้เป็นระบบมากขึ้นกว่าเดิม และนำแนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์มาประยุกต์ใช้ในการออกแบบตรงตามกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย 2. บริษัท ทริปเปิล เจ ฟู๊ด แอนด์ เบเวอร์เรจ จำกัด : ต.ห้วยไคร้ อ.แม่สาย จ.เชียงราย เข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้ประกอบการชุมชนรุ่นใหม่ (Start up) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ผู้ผลิตและจำหน่ายผักผลไม้ทอดกรอบ ตราฟันสแนค (Fun Snack) ผลิตผลไม้อบกรอบ เช่น แตงโม ขนุน ลำไย สับปะรด ทุเรียน เป็นต้น ทั้งนี้โรงงานได้รับการรับรองมาตรฐาน GMP/HACP เรียบร้อยแล้ว และมีความต้องการรับรองมาตรฐาน HALAL เพื่อขยายตลาดต่อไปในอนาคต จากการติดตามผู้ประกอบการชุมชนรุ่นใหม่ (Start up) ทั้ง 2 ราย พบว่าผู้ประกอบการได้ผลลัพธ์ที่ดีจากการเข้าร่วมโครงการ โดยยังคงดำเนินการตามแผนธุรกิจที่ได้จัดทำขึ้นระหว่างที่เข้าร่วมโครงการอย่างต่อเนื่อง และได้ปรับเปลี่ยนแผนธุรกิจด้านการตลาด เพื่อรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 ได้อย่างดีเยี่ยม ทั้งนี้ ผอ.ศภ.1 กสอ. ได้แนะนำบริการต่างๆของ ศภ.1 กสอ. ซึ่งสามารถขอรับบริการได้เพิ่มเติม พร้อมทั้งให้กำลังใจผู้ประกอบการให้ผ่านพ้นวิกฤต และสถานการณ์ปัจจุบันไปให้ได้
24 ก.พ. 2564
ศภ.1 กสอ. ลงพื้นจังหวัดเชียงราย ติดตามผลการดำเนินงาน โดยมุ่งเน้นการรับฟังปัญหา และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ศภ.1 กสอ. ลงพื้นจังหวัดเชียงราย ติดตามผลการดำเนินงาน โดยมุ่งเน้นการรับฟังปัญหา และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. พร้อมเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่จังหวัดเชียงราย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามการดำเนินงานของที่ปรึกษา พร้อมทั้งรับฟังปัญหา ความต้องการของผู้ประกอบการ ในสถานการณ์ โควิด-19 ดังนี้ 1.สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย : เพื่อหารือแนวทางการดำเนินงานโครงการในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ร่วมกับนางกฤษนันท์ ทะวิชัย อุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย นางสาวสร้อยสิรี เพชรสุวรรณ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม พร้อมติดตามความก้าวหน้าการบริการเงินทุนหมุนเวียนพร้อมทั้งให้คำแนะนำการพัฒนาหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เพื่อต่อยอดและพัฒนาผู้ประกอบการและชุมชนให้มีความพร้อมเพื่อรองรับการท่องเที่ยววิถีชุมชนชน (Next Nolmal) 2.บ้านครึ่งใต้ : ตำบลครึ่ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ซึ่งเข้าร่วมโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (CIV) หมู่บ้านครึ่งใต้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงและแหล่งเรียนรู้การจัดการเรื่องขยะของภาคเหนือ เป็นบ้านเกิดของพระเมธีวชิโรดม (ว.วชิรเมธี) โดยในชุมชนมีวิถีชีวิตที่สงบและเรียบง่าย มีผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ เช่น ผ้าทอ ผลิตภัณฑ์จากผ้าทอ ผลิตภัณฑ์จากขยะรีไซเคิล หัตถกรรมจักสานจากหวายและไม้ไผ่ 3.บ้านน้ำม้า : ตำบลสถาน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ซึ่งเข้าร่วมโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (CIV) หมู่บ้านน้ำม้าเป็นหมู่บ้านวิถีเกษตรธรรมชาติ เป็นจุดศูนย์กลางของชุมชนเชียงของ โดยมีผลิตภัณฑ์เด่นจากการนำวัตถุดิบต่าง ๆ ในพื้นที่มาพัฒนาเป็นของฝาก อาทิ กล้วยแปรรูป ผ้าทอ ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากตะไคร้ เครื่องจักสาน เสื้อผ้าพื้นเมือง ไว้คอยบริการนักท่องเที่ยว เป็นต้น ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการ CIV ได้รวบรวมข้อมูล จุดแข็ง จุดอ่อน ปัญหา อุปสรรค ของชุมชนเบื้องต้น เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริม และพัฒนา ให้มีประสิทธิภาพต่อไป 4. ติดตามเงินทุนหมุนเวียนกลุ่มเย็บผ้าบ้านต้นยาง : ตำบลหงาว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ผู้ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าพื้นเมืองโดยกลุ่มได้รับ คำสั่งซื้ออย่างต่อเนื่องซึ่งทำให้สมาชิกกลุ่มมีงานและรายได้อย่างต่อเนื่อง
23 ก.พ. 2564
ศภ.1 กสอ. "ลุย" จังหวัดลำพูน "เร่ง" ติดตามการดำเนินงาน พร้อม "รับฟัง" ปัญหา ความต้องการผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน หวังหาแนวทางฟื้นฟู เยียวยา
ศภ.1 กสอ. "ลุย" จังหวัดลำพูน "เร่ง" ติดตามการดำเนินงาน พร้อม "รับฟัง" ปัญหา ความต้องการผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน หวังหาแนวทางฟื้นฟู เยียวยา
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ ณ สถานประกอบการ เพื่อติดตามการดำเนินงานโครงการ “พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยทุนทางวัฒนธรรม” และหมู่บ้าน “CIV” ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ดังนี้ โครงการ “พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยทุนทางวัฒนธรรม” ดังนี้1. ศรีวิลัยผ้าฝ้าย : ต.มะกอก อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ผลิตและจำหน่าย เสื้อผ้าฝ้ายสตรีสำเร็จรูป ซึ่งให้แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นเทคนิคการปักลวดลายให้ดูทันสมัย และยังคงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของศรีวิลัยผ้าฝ้าย2. ร้านขะแจ๋หลงลื้อ : ต.บ้านธิ อ.บ้านธิ จ.ลำพูน ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้ายทอมือ ซึ่งให้แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยการออกแบบลวดลายการทอผ้าไทลื้อ พร้อมทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มโดยการนำผ้าทอมาประยุกต์บนเสื้อผ้าสำเร็จรูป3. กลุ่มเย็บปักถักร้อยบ้านสันทราย : ต.บ้านธิ อ.บ้านธิ จ.ลำพูน ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้ายมือ ซึ่งให้แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นเทคนิคการทำลายผ้า และออกแบบเสื้อผ้าให้ดูทันสมัย ????โครงการพัฒนาผู้ประกอบการยกระดับหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (CIV) 1. หมู่บ้าน CIV หมู่บ้านหนอกเงือก : อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของงานหัตกรรมผ้าทอของบ้านหนองเงือก โดยมีผลิตภัณฑ์เด่นจากการนำวัตถุดิบต่าง ๆ ในพื้นที่มาพัฒนาเป็นของฝาก อาทิ ผ้าทอ ลายต่างๆ ดังนี้ ลายเกล็ดเต่าลูกอม ลายเกล็ดเต่าหมู่ ลายเกล็ดเต่าจิ๋ว ลายเกล็ดเต่าตา ลายดอกช้าง ลายดอกนก ลายดอกบัวเครือ ลายดอกขอลายไทย เป็นต้น ซึ่งที่ปรึกษาให้แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยการดึงเอาความเป็นเอกลักษณ์ของผ้าทอหมู่บ้านหนองเงือก มาทำกระเป๋าโดยใช้ชื่อว่า “ขุงคัว” พร้อมทั้งให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการตลาดออนไลน์2. หมู่บ้าน CIV หมู่บ้านแพะ : อ.บ้านธิ จ.ลำพูน เป็นชุมชนที่มีจุดเด่นด้านวิถีวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมด้านการทำนา ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลื้อ มีอุโบสถ์โบราณไว้ใช้ในการประกอบพิธีทางศาสนา และประเพณีที่โดดเด่นและยังคงอนุรักษ์ไว้จากรุ่นสู่รุ่น โดยมีผลิตภัณฑ์เด่นจากการนำวัตถุดิบต่าง ๆ ในพื้นที่มาพัฒนาเป็นของฝาก อาทิ แปรรูปกะลามะพร้าว ย่ามไทลื้อ จักสานใบตาล เป็นต้น ทั้งนี้ ผอ.ศภ.1 กสอ. ได้สอบถามถึงการดำเนินงานของที่ปรึกษาโดยผู้ประกอบการมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโครงการเป็นอย่างมาก และผู้ประกอบการ CIV ทั้ง 2 แห่ง ประสบปัญหาไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวในชุมชน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด -19 แต่ผู้ประกอบการยังคงเตรียมความพร้อม ปรับภูมิทัศน์ จุดเช็คอินให้มีความสวยงาม และจะพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็ง พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวหลังสถานการณ์คลี่คลายต่อไป
22 ก.พ. 2564
ศภ.1 กสอ. จัดหลักสูตร Digital Touch Up ชูระบบซอฟต์แวร์เพื่อการบริหารจัดการองค์กร หวังเสริมแกร่ง SMEs ในพื้นที่
ศภ.1 กสอ. จัดหลักสูตร Digital Touch Up ชูระบบซอฟต์แวร์เพื่อการบริหารจัดการองค์กร หวังเสริมแกร่ง SMEs ในพื้นที่
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “Digital Touch Up เสริมแกร่ง SMEs ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล” ภายใต้โครงการส่งเสริมและสนับสนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยมีนายสุภกิจ ชัยเมืองเลน ผกบ.ศภ.1 กสอ. กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ ความเป็นมาของการฝึกอบรม การฝึกอบรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการใช้โปรแกรมสำหรับจัดการธุรกิจอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สามารถวิเคราะห์และเชื่อมโยง การใช้ประโยชน์จากข้อมูลในการพัฒนาธุรกิจ มองเห็นภาพรวมของธุรกิจ และวางแผนการจัดการทรัพยากรขององค์กรให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร และทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การจัดฝึกอบรมในครั้งนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 – 24 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นระยะเวลา 3 วัน ณ โรงแรมวินทรี ซิตี้ รีสอร์ต อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ซึ่งการฝึกอบรมประกอบด้วย - หัวข้อ “ยกระดับธุรกิจด้วย โปรแกรมบัญชีออนไลน์ myAccount Cloud” ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ครอบคลุมทุกฟังก์ชั่นในการทำงาน สามารถดูข้อมูลและรายงานแบบ Real Time ผ่านมือถือ - หัวข้อ “NEXT NORMAL DIGITAL TRANSFORMATION CHAGING : OKRI in Action” โดยหลังจากการฝึกอบรมผู้เข้าร่วมอบรมจะได้ทดลองใช้ซอฟแวร์ฟรี เป็นระยะเวลา 6 เดือนทั้งนี้ช่วงระหว่างการฝึกอบรม งานเงินทุนหมุนเวียนฯ ได้มาร่วมออกบูธเพื่อประชาสัมพันธ์สินเชื่อให้กับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมอบรมด้วย การฝึกอบรมในครั้งนี้มีกลุ่มเป้าหมาย SMEs ภาคอุตสาหกรรมทั่วไป ภาคการค้า และภาคบริการ เข้าร่วมจำนวน 30 กิจการ (30 คน) โดย ผอ.ศภ.1 กสอ. ได้เน้นย้ำให้ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด – 19 อย่างเคร่งครัดตลอดระยะเวลาการฝึกอบรม
22 ก.พ. 2564
ศภ.1 กสอ.ลงพื้นที่แม่ฮ่องสอนประชาสัมพันธ์โครงการ และเยี่ยมเยียนผู้ประกอบการ ที่เข้าร่วมโครงการของ ศภ.1 กสอ.
ศภ.1 กสอ.ลงพื้นที่แม่ฮ่องสอนประชาสัมพันธ์โครงการ และเยี่ยมเยียนผู้ประกอบการ ที่เข้าร่วมโครงการของ ศภ.1 กสอ.
วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ และเยี่ยมเยียนผู้ประกอบการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ที่เข้าร่วมโครงการของ ศภ.1 กสอ. ดังนี้ 1. สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน : ร่วมหารือกับนางพิกุล ทองรุ่งเรือง นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ รก.อสจ เพื่อหารือแนวทางการทำงานร่วมกันโดยเชื่อมโยงศูนย์ ITC SSRC ของศภ.1 กสอ. และประชาสัมพันธ์เงินทุนหมุนเวียนให้กับผู้ประกอบการพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2. วิสาหกิจชุมชนร้านครูสมศรี ต.ปางหมู อ.เมือง จ.แม่ฮ่อนสอน ซึ่งได้เข้าร่วมโครงการ “พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาสากล” จากการเข้าร่วมโครงการมีความประสงค์พัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้า โดยพัฒนาเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปผสมผสานลายชนเผ่า โดยยังคงอนุรักษ์วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะชนเผ่า 3. หจก.รุ่งเรืองสินพาณิชย์ อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งเข้าร่วมโครงการเงินทุนหมุนเวียนฯ ประกอบกิจการผลิตบล็อกซีเมนต์ ปัจจุบันเป็นลูกหนี้ชั้น A เคยกู้เงินกับ กสอ. มาแล้ว 3 ครั้ง ทั้งนี้ ผอ.ศภ.1 กสอ. ได้สอบถามถึงการดำเนินงานของที่ปรึกษา ความพึงพอใจในการรับคำปรึกษาแนะนำ โดยผู้ประกอบการมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโครงการเป็นอย่างมาก
16 ก.พ. 2564
ศภ.1 กสอ. ลุยแม่ฮ่องสอน เก็บข้อมูลปัญหา ความต้องการผู้ประกอบการหมู่บ้าน CIV หวังหาแนวทางฟื้นฟู เยียวยา
ศภ.1 กสอ. ลุยแม่ฮ่องสอน เก็บข้อมูลปัญหา ความต้องการผู้ประกอบการหมู่บ้าน CIV หวังหาแนวทางฟื้นฟู เยียวยา
วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่หมู่บ้าน CIV จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อเยี่ยมเยียนผู้ประกอบการ ติดตามเก็บข้อมูล ความต้องการ ปัญหา และอุปสรรคช่วงสถานการณ์โควิด - 19 1. หมู่บ้าน CIV บ้านผาบ่อง : อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็น “ชุมชนลุ่มน้ำปายตอนล่าง บ้านผาบ่อง” เป็นชุมชนที่มีจุดเด่นในด้านความหลากหลายทางวัฒนธรรมเนื่องจากเป็นชุมชนที่มีการอยู่ร่วมกันของชาวไตหรือไทใหญ่ และชาวปกาเกอะญอ ซึ่งอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียว โดยมีผลิตภัณฑ์เด่นจากการนำวัตถุดิบต่าง ๆ ในพื้นที่มาพัฒนาเป็นของฝาก อาทิ ผ้าทอพื้นเมืองตากีญะ ถั่วลิสงลายเสือคั่วเกลือ น้ำมันถั่วลิสง และข้าวน้ำแร่ผาบ่อง เป็นต้น 2. หมู่บ้าน CIV บ้านปางหมู : อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประชากรส่วนใหญ่ของชุมชน บ้านปางหมูเป็นคนไตหรือไทใหญ่ ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยวัฒนธรรมประเพณีของชนเผ่าที่สืบทอดกันมาเนิ่นนาน แต่ครั้งโบราณ มีความเชื่อ พิธีกรรม และประเพณีที่น่าสนใจเหมาะแก่การเที่ยวชมตลอดปี มีกลุ่มอาชีพที่หลากหลายเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์เด่นของชุมชน อาทิ น้ำมันงา ตัดเย็บเสื้อผ้า และการทำถั่วเน่าแผ่น เป็นต้น โดยผู้ประกอบการ civ ทั้ง 2 แห่ง ได้ประสบกับปัญหาสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด - 19 ทำให้ไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวในชุมชน แต่ผู้ประกอบการยังคงมีความพร้อม ปรับภูมิทัศน์ จุดเช็คอินให้มีความสวยงาม และจะพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็ง พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวหลังสถานการณ์คลี่คลายต่อไป
16 ก.พ. 2564
ผอ.ศภ.1 กสอ. เยี่ยมผู้ประกอบการแม่ฮ่องสอน มุ่งพัฒนาให้มีผลิตภัณฑ์ใหม่ คงความเป็นเอกลักษณ์ และสอดคล้องกับตลาด
ผอ.ศภ.1 กสอ. เยี่ยมผู้ประกอบการแม่ฮ่องสอน มุ่งพัฒนาให้มีผลิตภัณฑ์ใหม่ คงความเป็นเอกลักษณ์ และสอดคล้องกับตลาด
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนเพื่อติดตามการดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อให้คงความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน และสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ดังนี้ 1. กลุ่มอาชีพตีเครื่องเงินบ้านละอูบ : อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน ผลิตและจำหน่ายเครื่องเงินที่มีความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์ นอกจากนี้ยังมีการผลิตผ้าพื้นเมืองจำหน่ายเพื่อเป็นของใช้ ของที่ระลึกให้กับนักท่องเที่ยว ซึ่งได้เข้าร่วมโครงการ “พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาสากล” จากการเข้าร่วมโครงการมีความประสงค์พัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้า โดยพัฒนาเป็นกระเป๋าผ้าทรงกล่อง เพื่อให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ 2. กาแฟสด ผ้าทอขนแกะโฮมสเตย์บ้านห้วยห้อม : อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน แหล่งผลิตกาแฟแบบครบวงจร ตั้งแต่การเพาะกล้า การผลิต การเก็บ การคั่วและบดกาแฟ จนกระทั่งบรรจุหีบห่อ จากนี้ยังมีการทอผ้าโบราณดั้งเดิม ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีเอกลักษณ์ตามลายดั้งเดิม เช่น ลายข้าวโพด ลายดอกเข็ม และลายใหม่ เช่น ลายเจดีย์ และลายดอกบัวตอง แปรรูปเป็น ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ย่าม ผ้าตัดเสื้อ ผ้าคลุมโต๊ะ ฯลฯ เป็นต้น 3. กลุ่มผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีต่ากีญะ : อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ผลิตและจำหน่ายผ้าทอมือย้อมสีธรรมชาติ ผ้าทอกะเหรี่ยง แปรรูปเป็นสินค้าอื่นๆ เช่น ผ้าพันคอ เสื้อ ผ้าถุง กระเป๋า ปลอกหมอน ผ้าคลุมไหล่ เข้าร่วมกิจกรรม “พัฒนานักออกแบบเพื่อผู้ประกอบการ - Design Savvy” ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์กระเป๋าสะพาย Crossbody และผลิตเสื้อผ้าสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่มีรูปร่างขนาดใหญ่ ทำให้เพิ่มยอดขายให้กับกลุ่มได้มากขึ้น
15 ก.พ. 2564
ศภ.1 กสอ. ร่วมพิจารณาปล่อยสินเชื่อโครงการ "สินเชื่อ เสริมพลัง สร้างอนาคต SME ไทย"
ศภ.1 กสอ. ร่วมพิจารณาปล่อยสินเชื่อโครงการ "สินเชื่อ เสริมพลัง สร้างอนาคต SME ไทย"
วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. ในฐานะคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ เข้าร่วมประชุม “คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ประจำจังหวัดเชียงใหม่ ครั้งที่ 1/2564 ณ ห้องประชุม สอจ.เชียงใหม่โดยมี นายสำเริง ไชยเสน รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุม และมีนายบุญอุ้ม วงศ์บุตร อสจ.เชียงใหม่ เป็นเลขาฯ การประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณากลั่นกรอง และวิเคราะห์เอสเอ็มอีที่มีคุณสมบัติ และเข้าข่ายได้รับการสนับสนุนโครงการ "สินเชื่อ เสริมพลัง สร้างอนาคต SME ไทย" ตามแนวทางและหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ซึ่งในวันนี้มีการพิจารณาคำขอและผ่านตามหลักเกณฑ์ทั้งสิ้นจำนวน 18 ราย วงเงิน 73.93ล้านบาท โดยส่งต่อให้SME Bank พิจารณาอนุมัติต่อไป โครงการ "สินเชื่อ เสริมพลัง สร้างอนาคต SME ไทย" มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสินเชื่อสนับสนุนให้เกิดการลงทุน ขยาย ปรับปรุงกิจการ เช่น สิ่งปลูกสร้าง เครื่องจักร/อุปกรณ์ ยานพาหนะ และระบบงาน เป็นต้น หรือเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนเสริมสภาพคล่อง สำรองเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ย 1 %ต่อปีตลอดอายุสัญญา วงเงินกู้สูงสุด 5 ล้านบาทต่อราย ระยะเวลากู้สูงสุด 7 ปี ปลอดเงินต้นสูงสุด 1 ปี โดยเปิดรับคำขอสินเชื่อ ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564 หรือเว้นแต่วงเงินสินเชื่อจะหมดก่อน
15 ก.พ. 2564
ศภ.1 กสอ. ลงพื้นที่ ณ สถานประกอบการ ติดตามการให้คำปรึกษาแนะนำอย่างต่อเนื่อง
ศภ.1 กสอ. ลงพื้นที่ ณ สถานประกอบการ ติดตามการให้คำปรึกษาแนะนำอย่างต่อเนื่อง
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 พร้อมด้วย ผู้อำนวยการกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมและเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ ณ สถานประกอบการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ติดตามการดำเนินการให้คำปรึกษาแนะนำกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของโครงการ และตรงกับปัญหา และความต้องการของผู้ประกอบการอย่างแท้จริง โดยลงพื้นที่ ณ สถานประกอบการ ดังนี้ 1. วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผ้าทอมือลายโบราณ (พาดีผ้าทอ) : อ.เมือง จ.น่าน เข้าร่วมโครงการ “พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาสากล” ซึ่งมีความต้องการพัฒนาลายผ้าซิ่นทอมือ ให้มีความสวยงาม แปลกใหม่ แต่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดน่าน ที่ปรึกษาจึงให้คำปรึกษาแนะนำการทอผ้า โดยแกะลายจากผ้าซิ่นที่นางสีไวสวมใส่ (นางสีไวเป็นตัวละครจากเรื่อง คัทธณะกุมารชาดก ซึ่งเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในวัดภูมินทร์ จ.น่าน) 2. กลุ่มส่งเสริมอาชีพบ้านเชียงราย : อ.เมือง จ.น่าน เข้าร่วมโครงการ “พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาสากล” ซึ่งมีความต้องการต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอ ที่เดิมทีจำหน่ายเฉพาะผ้าทอเป็นผืน เพื่อให้ลูกค้านำไปตกแต่งสินค้า และผลิตภัณฑ์เท่านั้น ที่ปรึกษาจึงให้คำแนะนำพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้คงความเป็นเอกลักษณ์ลายผ้าทอ (ลายดอกผักแว่น) ของชุมชนที่สืบทอดมานานกว่า 100 ปี เป็นปลอกหมอนอิง ผ้าคาดเตียง ผ้าคาดโต๊ะ เป็นต้น โดยผสมผสานกับความทันสมัยเพื่อให้ตรงกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย 3. บริษัท แม่ลัวคอฟฟ์ จำกัด : อ.เมือง จ.แพร่ เข้าร่วมกิจกรรม “พัฒนาผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมกาแฟตลอด ห่วงโซ่เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์” โดยเข้าเยี่ยมชมสถานประกอบการ พร้อมหารือแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมกาแฟในพื้นที่
08 ก.พ. 2564
ศภ.1 กสอ. เสริมแกร่ง ผู้ประกอบการพื้นที่จังหวัดน่าน มุ่งเพิ่มประสิทธิภาพผู้ประกอบการให้เข้มแข็งทุกด้าน
ศภ.1 กสอ. เสริมแกร่ง ผู้ประกอบการพื้นที่จังหวัดน่าน มุ่งเพิ่มประสิทธิภาพผู้ประกอบการให้เข้มแข็งทุกด้าน
วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. พร้อมด้วย ผกธ. และเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ ณ สถานประกอบการพื้นที่จังหวัดน่าน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ติดตามการดำเนินการให้คำปรึกษาแนะนำกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของโครงการ และตรงกับปัญหา และความต้องการของผู้ประกอบการอย่างแท้จริง โดยลงพื้นที่ ณ สถานประกอบการ ดังนี้ 1. ติดตามการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิต กิจกรรม “การพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะ” ณ สหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินท่าวังผา จำกัด : อ.ท่าวังผา จ.น่าน ผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตร อาทิ พริก ฟักทอง ข้าวโพด ดาวอินคา เป็นต้น โดยเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการตากแห้งด้วยโซลาร์โดมแบบพาราโบล่าโดม พร้อมติดตั้งอุปกรณ์ sensor เช่น Temp.sensor และ Humidity Sensor เพื่อควบคุมอุณหภูมิและความชื้นให้มีความเหมาะสม 2. ติดตามการเพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับอุตสาหกรรมกาแฟอะราบิก้าภาคเหนือ กิจกรรม “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้วยนวัตกรรมและงานวิจัย” ณ วิสาหกิจชุมชนแมนดารินคอฟฟี่ : อ.ปัว จ.น่าน โดยการพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ "กาแฟแคปซูลจาก Peaberry" พร้อมร่วมทดสอบชิมและประเมินผลผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาภายใต้โครงการ 3. ติดตามการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ กิจกรรม “พัฒนานักออกแบบเพื่อผู้ประกอบการ (Design Savvy) ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพเชิงนวัตกรรมและการออกแบบ : IDEA House” ณ ปัว นพเก้า : อ.ปัว จ.น่าน ซึ่งต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทผลิตภัณฑ์แฟชั่น กลุ่มเป้าหมายเป็นวัยรุ่น ถึงวัยทำงาน 4. ติดตามการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการตลาด ณ สหกรณ์สามเณรนักเรียน สหกรณ์ร้านค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน : อ.ปัว จ.น่าน โดยให้คำแนะนำและร่วมตกแต่งหน้าร้านจำหน่ายสินค้า เพื่อให้มีความน่าสนใจ ดึงดูดนักท่องเที่ยว และเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าชุมชน 5. ติดตามการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการสร้างเครือข่ายและการรวมกลุ่มคลัสเตอร์ ณ ร้านเฮือนฮังต่อ กิจกรรม “พัฒนาการรวมกลุ่ม SMEs และเชื่อมโยงอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป" : อ.เมือง จ.น่าน โดยหารือแนวทางการพัฒนาเกษตรแปรรูปร้อมรับโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการในพื้นที่ อาทิเช่น ด้านการพัฒนาคุณภาพเมล็ดกาแฟ ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป และด้านการพัฒนามาตรฐานเกษตรแปรรูป โดยเชื่อมโยงความต้องการผู้ประกอบการกับโครงการที่ได้การจัดสรรงบประมาณประจำปี 2564
04 ก.พ. 2564