SHAP IPC 1 ออก Start “เต้นแอโรบิค” กิจกรรมลดพุง ลดโรค ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 ณ ศภ.1 กสอ. นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. พร้อมด้วย ผก. ศภ.1 กสอ. และเจ้าหน้าที่ ร่วมออกกำลังกาย “เต้นแอโรบิค” กิจกรรมลดพุง ลดโรค ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ภายใต้โครงการส่งเสริมผลิตภาพและสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (งบสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)) การจัดกิจกรรมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาให้ ศภ. 1 กสอ. และหน่วยงานเครือข่าย เป็นองค์กรสุขภาวะต้นแบบ ที่บุคลากรมีการดูแลสุขภาพ รักการออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ บริโภคผักผลไม้อย่างเพียงพอ รณรงค์ลดอัตราการดื่มสุรา ลดอัตราการสูบบุหรี่ ตลอดจนส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ครอบครัวอบอุ่น ซึ่งกิจกรรม “เต้นแอโรบิค” นี้ กำหนดจัดขึ้นทุกวันอังคาร และวันพฤหัสบดี เริ่มตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ถึง 27 พฤษภาคม 2564 รวมระยะเวลา 4 เดือน โดยมี ดร.กุลชาดา ศรีใส อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา วิทยาเขตเชียงใหม่ เป็นผู้นำเต้น กิจกรรมในวันนี้ได้มีการเว้นระยะห่างตามมาตรการป้องกัน Covid-19 ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ ศภ.1 กสอ. และเจ้าหน้าที่สภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ หน่วยงานเครือข่าย ร่วม “เต้นแอโรบิค” ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ จำนวนทั้งสิ้น 55 คน
02 ก.พ. 2564
ผู้ประกอบการเกษตรแปรรูปพื้นที่ เข้ารับบริการ ณ ศูนย์ ITC ศภ.1
ผู้ประกอบการด้านเกษตรแปรรูปพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ มุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการตลาด เดินหน้า เข้ารับบริการ ณ ศูนย์ ITC ศภ.1 อย่างต่อเนื่อง วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. ให้การต้อนรับ และร่วมให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ประกอบการที่นำวัตถุดิบมาทดลองแปรรูปผลิตภัณฑ์ ณ ศูนย์ ITC ศภ.1 กสอ. จำนวน 2 ราย ดังนี้ 1. บริษัท ดีท็อกซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ขอรับบริการโดยนำน้ำสมุนไพร ซึ่งประกอบด้วยสมุนไพร 3 ชนิด ได้แก่ สมอพิเภก สมอไทย และมะขามป้อม มาขอรับบริการเครื่องระเหยข้น และสเปร์ยดาย เพื่อต่อยอดทำเป็นน้ำสมุนไพรผงชงดื่มเพื่อสุขภาพ 2. ร้านแป้งฟักทอง ขอรับบริการโดยนำบีทรูทมาบดด้วยเครื่องบดละเอียด เพื่อทำเป็นผงบีทรูทจำหน่ายให้แก่สถานประกอบการต่างๆ เพื่อนำไปต่อยอดทำผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ และเครื่องสำอาง นอกจากนี้ทางร้านแป้งฟักทองยังมีผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบอื่นๆ เช่น ผงฟักทอง ผงมันม่วง ผงใบเตย ผงอัญชัน ผงเผือกหอม และผงแครอท โดยจำหน่ายทางเพจเฟซบุ๊คผงผักสีรุ้งเพื่อสุขภาพ ระหว่างการขอรับบริการ ได้มีผู้เชี่ยวชาญ เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ ITC คอยให้คำปรึกษาแนะนำตลอดการใช้เครื่องจักรดังกล่าว
02 ก.พ. 2564
ศภ.1 กสอ. ร่วมประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการดำเนินการพัฒนาประสิทธิภาพองค์กร กลุ่มที่ 6
วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 ณ ศภ.1 กสอ. นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. พร้อมด้วย ผก.ศภ.1 กสอ. เข้าร่วมประชุม “คณะกรรมการส่งเสริมการดำเนินการพัฒนาประสิทธิภาพองค์กร กลุ่มที่ 6” ครั้งที่ 1/2564 ผ่านระบบ Application Zoom โดยมี นายบรรจง สุกรีฑา ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุม การประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรมในการดำเนินกิจกรรม โครงการต่างๆ ให้ที่ประชุมได้รับทราบ พร้อมทั้งรายงานสรุปผลการดำเนินงานคณะทำงานขับเคลื่อนงานของแต่ละกลุ่ม และพิจารณาแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนงานของแต่ละกลุ่มในคณะกรรมการส่งเสริมการดำเนินการพัฒนาประสิทธิภาพองค์กร กลุ่มที่ 6 (ใหม่) เพื่อเป็นแกนกลางในการผนึกกำลังของบุคลากรในกลุ่ม ให้ดำเนินการเพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กร และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานต่อไป
02 ก.พ. 2564
ศภ.​1​ กสอ.​ หนุนผู้ประกอบการเงินทุนหมุนเวียน​เต็มกำลัง​
วันที่ 29 มกราคม ณ ห้องพุดพิชญา ศภ.1 กสอ. นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. ประธานคณะทำงานการพิจาณาเงินทุนหมุนเวียน ศภ.1 กสอ. พร้อมด้วยคณะทำงาน และเจ้าหน้าที่เงินทุนหมุนเวียน ร่วมประชุมพิจารณาคำขอสินเชื่อผู้ประกอบการ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งประกอบกิจการประเภท ง.5 ศิลปะประดิษฐ์และของที่ระลึก (โคมล้านนา) ผลการพิจารณาที่ประชุมมีมติเห็นควรพิจารณาอนุมัติ โดยมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ประกอบการรับทราบ เพื่อดำเนินการในขั้นตอนการทำนิติกรรมและเบิกจ่ายต่อไป
29 ม.ค. 2564
ผอ.ศภ.1 กสอ. นำทีมเจ้าหน้าที่ประชุมลงคะแนนคัดเลือกบุคลากรใน ศภ.1 กสอ. เพื่อเสนอชื่อเป็น “คนดี ศรี กสอ.”
วันที่ 28 มกราคม 2564 ณ ห้องหิรัญญการ์ ศภ.1 กสอ. นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. พร้อมด้วย ผก.ศภ.1 กสอ. และเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมประชุมพิจารณาคัดเลือกบุคลากรใน ศภ.1 กสอ. เพื่อเสนอชื่อเป็น “คนดี ศรี กสอ.” และข้าราชการพลเรือนดีเด่น กสอ. ประจำปี พ.ศ. 2563 การประชุมดังกล่าว จัดขึ้นตามหลักการ และวิธีการพิจารณาคัดเลือก “คนดี ศรี กสอ.” ตามมติของคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือก “คนดี ศรี กสอ.” และข้าราชการพลเรือนดีเด่น กสอ. เพื่อให้การพิจารณาคัดเลือกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความยุติธรรม การประชุมในวันนี้ ศภ.1 กสอ. ใช้วิธีการลงคะแนนคัดเลือกบุคลากรใน ศภ.1 กสอ. เพื่อเสนอชื่อเป็น “คนดี ศรี กสอ.” จำนวน 2 คน จากจำนวน 7 คน ที่ได้รับการพิจารณาเสนอชื่อจากคณะกรรมการดำเนินการพิจารณาคัดเลือกบุคลากรใน ศภ.1 กสอ. เพื่อสมัครเข้ารับการคัดเลือกเป็น “คนดี ศรี กสอ.” ประจำปี พ.ศ. 2563 ซึ่ง ศภ.1 กสอ. จะเสนอชื่อให้ กสอ. พิจารณาต่อไป
28 ม.ค. 2564
ศภ.1 กสอ. สรุปผลการสำรวจผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19
วันที่ 27 มกราคม 2564 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. พร้อมด้วย ผก.ศภ.1 กสอ. และเจ้าหน้าที่ ร่วมรับฟังการสรุปผล “การสำรวจผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-91 ที่มีต่อผู้ประกอบการในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน” โดย ศภ.1 กสอ. ได้ดำเนินการจัดทำแบบสอบถาม และสอบถามผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน (เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน) ณ ห้องพุดพิชญา ศภ.1 กสอ. การดำเนินการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ภาครัฐสามารถกำหนดมาตรการให้ความช่วยเหลือและเยียวยาผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 ให้สอดคล้องกับความต้องการ และสภาพปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงทิศทางการพัฒนาผู้ประกอบการให้มีความเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน โดย ศภ.1 กสอ. ได้ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลแบบสอบถามระหว่างวันที่ 14 - 20 มกราคม 2564 ซึ่งมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 260 คน สามารถสรุปผลสิ่งที่ธุรกิจมีความต้องการ การสนับสนุนจากภาครัฐในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ด้านต่างๆ ดังนี้ 1. ต้องการ การสนับสนุนจากภาครัฐทางด้านการเงินมากที่สุด คือ มาตรการทางการเงินเพี่อเสริมสภาพคล่อง เช่น สินเชื่อปลอดดอกเบี้ยหรือดอกเบี้ยต่า สินเชื่อฉุกเฉิน การค้าประกันสินเชื่อ การผ่อนปรนเงื่อนไขในการยื่นคาขอกู้ คิดเป็นร้อยละ 71.54 2. ต้องการ การสนับสนุนจากภาครัฐทางด้านการผลิตมากที่สุด คือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่หรือการปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิม คิดเป็นร้อยละ 83.85 3. ต้องการ การสนับสนุนจากภาครัฐทางด้านการตลาดมากที่สุด คือ การขยายช่องทางการตลาดออนไลน์หรือการสร้างแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น E-Commerce, Online Marketplace, Social Media คิดเป็นร้อยละ 79.23 4. ต้องการ การสนับสนุนจากภาครัฐทางด้านการพัฒนาองค์กรและบุคลากรมากที่สุด คือ การฝึกอบรม/สัมมนาหลักสูตร ที่เกี่ยวข้องกับการดาเนินธุรกิจ โดยเฉพาะการคัดเลือกวิทยากรที่มีองค์ความรู้และประสบการณ์ที่สอดคล้องกับ ผู้เข้ารับการฝึกอบรม คิดเป็นร้อยละ 69.62
27 ม.ค. 2564
ศภ.1 กสอ. ลงพื้นที่ CIV บ้านลวงเหนือ เพื่อติดตามความก้าวหน้าโครงการ
วันที่ 26 มกราคม 2564 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ ณ หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ CIV บ้านลวงเหนือ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเยี่ยมเยียนผู้ประกอบการ พร้อมทั้งติดตามความก้าวหน้าการเข้าร่วมโครงการ และสอบถามปัญหา อุปสรรค ช่วงสถานการณ์โควิด - 19 โดยได้พบปะกับผู้ประกอบการชุมชน CIV ลวงเหนือ ดังนี้ 1. ตุ๊กตาไม้นายโถ : ซึ่งเข้ารับบริการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ภายใต้โครงการ CIV โดยที่ปรึกษาได้ให้คำแนะนำ แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของฝากของที่ระลึก เช่น ไม้ และผ้าทอไทยลื้อ 2. เฮือนปอ : ผลิตและจำหน่ายกระเป๋าทอจากกระดาษสา 3. ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยไตลื้อ (บ้านใบบุญ) ทั้งนี้ ผอ.ศภ.1 กสอ. ได้กล่าวให้กำลังใจผู้ประกอบการในชุมชน โดยผู้ประกอบการได้ประสบกับปัญหาสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด - 19 ทำให้ไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวในชุมชน แต่ผู้ประกอบการยังคงมีความพร้อม และจะพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็ง พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวหลังสถานการณ์คลี่คลายต่อไป
26 ม.ค. 2564
ศภ.1 กสอ. ลงพื้นที่สำรวจความพร้อมผู้ประกอบการก่อนเข้าร่วมโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปีงบประมาณ 2564
วันที่ 26 มกราคม 2564 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ ณ กลุ่มผ้าถักโครเชต์บ้านแม่ออน (Ban Mae On) อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นกลุ่มผลิตและจำหน่ายผ้าถักโครเชต์ โดยการลงพื้นที่ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความพร้อมผู้ประกอบการ ก่อนเข้าร่วมโครงการ โดยผู้ประกอบการรายดังกล่าวมีความต้องการพัฒนา เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าถักโคเชต์ ให้มีความทันสมัย คงความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน และตรงกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
26 ม.ค. 2564
ศภ.1 กสอ. ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานโครงการ "ทุนวัฒนธรรม" หวังช่วยชุมชนพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่า
วันที่ 26 มกราคม 2564 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ ณ สถานประกอบการ เพื่อติดตามการดำเนินงานโครงการ “พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยทุนทางวัฒนธรรม” ปีงบประมาณ 2564 ดังนี้ 1. กลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าและโครเชต์บ้านห้วยทราย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ถักโครเชต์ด้วยสีย้อมธรรมชาติ โดยที่ปรึกษาให้แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นกระเป๋า และปลอกหมอนถักจากไหมใยกัญชงย้อมสีธรรมชาติ เช่น สีเหลืองจากดอกดาวเรือง สีเทาจากเปลือกมะพร้าวอ่อน สีเขียวจากใบมะม่วง เป็นต้น 2. พลอยรุ้ง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ผลิตและจำหน่ายกระเป๋าผ้างานปัก โดยที่ปรึกษาให้แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์คอลเลคชั่น เซท เสื้อ กางเกง ชุดกระโปรง และกระเป๋า 3. ร้านขันทิพย์ อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้า โดยที่ปรึกษาให้แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยนำเศษผ้าที่เหลือจากการตัดเย็บมาทำเป็นคอลเลคชั่น เซท เสื้อ กางเกง ชุดกระโปรง และกระเป๋าผ้าต่อ ทั้งนี้ ผอ.ศภ.1 กสอ. ได้สอบถามถึงการดำเนินงานของที่ปรึกษา ความพึงพอใจในการรับคำปรึกษาแนะนำ พร้อมทั้งให้แนวทางในการนำผลิตภัณฑ์ไปต่อยอดจำหน่าย โดยผู้ประกอบการมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโครงการเป็นอย่างมาก
26 ม.ค. 2564
ศภ.1 กสอ. เร่งส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมเกษตร ด้วยเทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะ
วันที่ 25 มกราคม 2564 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. พร้อมด้วย ผกธ. และเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ ณ วิสาหกิจชุมชน B2B เกษตรอินทรีย์วิถีธรรมชาติ อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ เพื่อร่วมกำกับติดตามการดำเนินงานกิจกรรม "พัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะ" ภายใต้โครงการส่งเสริมเกษตรอุตสาหกรรมแบบครบวงจร โดยวิสาหกิจชุมชน B2B เกษตรอินทรีย์ฯ ผลิตและจำหน่ายผัก ผลไม้ และลำไยอินทรีย์อบแห้ง ซึ่งพบว่ากระบวนการอบแห้งมีประสิทธิภาพต่ำ อบแห้งโดยใช้แก๊สแบบ Tray dry 10 ชั้น ต้องสลับถาดทุกชั่วโมง และมีตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดเล็ก 1 ตู้ ดังนั้นที่ปรึกษาจึงมีแนวทางการช่วยเหลือ พัฒนาด้าน Iot เพื่อปรับปรุงกระบวนการอบแห้งให้ได้ประสิทธิภาพ โดยการเปลี่ยนเครื่องอบแห้ง พร้อมทั้งทำติดเซ็นเซอร์ วัดอุณหภูมิและความชื้นในการอบแห้ง เพื่อใช้ตรวจวัดและบันทึกข้อมูลการผลิต ให้การผลิตสินค้ามีคุณภาพ ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค
25 ม.ค. 2564