ศภ.1 กสอ. "ลุย" จังหวัดลำพูน "เร่ง" ติดตามการดำเนินงาน พร้อม "รับฟัง" ปัญหา ความต้องการผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน หวังหาแนวทางฟื้นฟู เยียวยา
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ ณ สถานประกอบการ เพื่อติดตามการดำเนินงานโครงการ “พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยทุนทางวัฒนธรรม” และหมู่บ้าน “CIV” ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ดังนี้ โครงการ “พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยทุนทางวัฒนธรรม” ดังนี้1. ศรีวิลัยผ้าฝ้าย : ต.มะกอก อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ผลิตและจำหน่าย เสื้อผ้าฝ้ายสตรีสำเร็จรูป ซึ่งให้แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นเทคนิคการปักลวดลายให้ดูทันสมัย และยังคงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของศรีวิลัยผ้าฝ้าย2. ร้านขะแจ๋หลงลื้อ : ต.บ้านธิ อ.บ้านธิ จ.ลำพูน ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้ายทอมือ ซึ่งให้แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยการออกแบบลวดลายการทอผ้าไทลื้อ พร้อมทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มโดยการนำผ้าทอมาประยุกต์บนเสื้อผ้าสำเร็จรูป3. กลุ่มเย็บปักถักร้อยบ้านสันทราย : ต.บ้านธิ อ.บ้านธิ จ.ลำพูน ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้ายมือ ซึ่งให้แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นเทคนิคการทำลายผ้า และออกแบบเสื้อผ้าให้ดูทันสมัย ????โครงการพัฒนาผู้ประกอบการยกระดับหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (CIV) 1. หมู่บ้าน CIV หมู่บ้านหนอกเงือก : อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของงานหัตกรรมผ้าทอของบ้านหนองเงือก โดยมีผลิตภัณฑ์เด่นจากการนำวัตถุดิบต่าง ๆ ในพื้นที่มาพัฒนาเป็นของฝาก อาทิ ผ้าทอ ลายต่างๆ ดังนี้ ลายเกล็ดเต่าลูกอม ลายเกล็ดเต่าหมู่ ลายเกล็ดเต่าจิ๋ว ลายเกล็ดเต่าตา ลายดอกช้าง ลายดอกนก ลายดอกบัวเครือ ลายดอกขอลายไทย เป็นต้น ซึ่งที่ปรึกษาให้แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยการดึงเอาความเป็นเอกลักษณ์ของผ้าทอหมู่บ้านหนองเงือก มาทำกระเป๋าโดยใช้ชื่อว่า “ขุงคัว” พร้อมทั้งให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการตลาดออนไลน์2. หมู่บ้าน CIV หมู่บ้านแพะ : อ.บ้านธิ จ.ลำพูน เป็นชุมชนที่มีจุดเด่นด้านวิถีวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมด้านการทำนา ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลื้อ มีอุโบสถ์โบราณไว้ใช้ในการประกอบพิธีทางศาสนา และประเพณีที่โดดเด่นและยังคงอนุรักษ์ไว้จากรุ่นสู่รุ่น โดยมีผลิตภัณฑ์เด่นจากการนำวัตถุดิบต่าง ๆ ในพื้นที่มาพัฒนาเป็นของฝาก อาทิ แปรรูปกะลามะพร้าว ย่ามไทลื้อ จักสานใบตาล เป็นต้น ทั้งนี้ ผอ.ศภ.1 กสอ. ได้สอบถามถึงการดำเนินงานของที่ปรึกษาโดยผู้ประกอบการมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโครงการเป็นอย่างมาก และผู้ประกอบการ CIV ทั้ง 2 แห่ง ประสบปัญหาไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวในชุมชน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด -19 แต่ผู้ประกอบการยังคงเตรียมความพร้อม ปรับภูมิทัศน์ จุดเช็คอินให้มีความสวยงาม และจะพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็ง พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวหลังสถานการณ์คลี่คลายต่อไป
22 ก.พ. 2021
ศภ.1 กสอ. จัดหลักสูตร Digital Touch Up ชูระบบซอฟต์แวร์เพื่อการบริหารจัดการองค์กร หวังเสริมแกร่ง SMEs ในพื้นที่
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “Digital Touch Up เสริมแกร่ง SMEs ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล” ภายใต้โครงการส่งเสริมและสนับสนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยมีนายสุภกิจ ชัยเมืองเลน ผกบ.ศภ.1 กสอ. กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ ความเป็นมาของการฝึกอบรม การฝึกอบรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการใช้โปรแกรมสำหรับจัดการธุรกิจอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สามารถวิเคราะห์และเชื่อมโยง การใช้ประโยชน์จากข้อมูลในการพัฒนาธุรกิจ มองเห็นภาพรวมของธุรกิจ และวางแผนการจัดการทรัพยากรขององค์กรให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร และทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การจัดฝึกอบรมในครั้งนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 – 24 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นระยะเวลา 3 วัน ณ โรงแรมวินทรี ซิตี้ รีสอร์ต อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ซึ่งการฝึกอบรมประกอบด้วย - หัวข้อ “ยกระดับธุรกิจด้วย โปรแกรมบัญชีออนไลน์ myAccount Cloud” ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ครอบคลุมทุกฟังก์ชั่นในการทำงาน สามารถดูข้อมูลและรายงานแบบ Real Time ผ่านมือถือ - หัวข้อ “NEXT NORMAL DIGITAL TRANSFORMATION CHAGING : OKRI in Action” โดยหลังจากการฝึกอบรมผู้เข้าร่วมอบรมจะได้ทดลองใช้ซอฟแวร์ฟรี เป็นระยะเวลา 6 เดือนทั้งนี้ช่วงระหว่างการฝึกอบรม งานเงินทุนหมุนเวียนฯ ได้มาร่วมออกบูธเพื่อประชาสัมพันธ์สินเชื่อให้กับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมอบรมด้วย การฝึกอบรมในครั้งนี้มีกลุ่มเป้าหมาย SMEs ภาคอุตสาหกรรมทั่วไป ภาคการค้า และภาคบริการ เข้าร่วมจำนวน 30 กิจการ (30 คน) โดย ผอ.ศภ.1 กสอ. ได้เน้นย้ำให้ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด – 19 อย่างเคร่งครัดตลอดระยะเวลาการฝึกอบรม
22 ก.พ. 2021
ศภ.1 กสอ.ลงพื้นที่แม่ฮ่องสอนประชาสัมพันธ์โครงการ และเยี่ยมเยียนผู้ประกอบการ ที่เข้าร่วมโครงการของ ศภ.1 กสอ.
วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ และเยี่ยมเยียนผู้ประกอบการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ที่เข้าร่วมโครงการของ ศภ.1 กสอ. ดังนี้ 1. สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน : ร่วมหารือกับนางพิกุล ทองรุ่งเรือง นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ รก.อสจ เพื่อหารือแนวทางการทำงานร่วมกันโดยเชื่อมโยงศูนย์ ITC SSRC ของศภ.1 กสอ. และประชาสัมพันธ์เงินทุนหมุนเวียนให้กับผู้ประกอบการพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2. วิสาหกิจชุมชนร้านครูสมศรี ต.ปางหมู อ.เมือง จ.แม่ฮ่อนสอน ซึ่งได้เข้าร่วมโครงการ “พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาสากล” จากการเข้าร่วมโครงการมีความประสงค์พัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้า โดยพัฒนาเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปผสมผสานลายชนเผ่า โดยยังคงอนุรักษ์วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะชนเผ่า 3. หจก.รุ่งเรืองสินพาณิชย์ อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งเข้าร่วมโครงการเงินทุนหมุนเวียนฯ ประกอบกิจการผลิตบล็อกซีเมนต์ ปัจจุบันเป็นลูกหนี้ชั้น A เคยกู้เงินกับ กสอ. มาแล้ว 3 ครั้ง ทั้งนี้ ผอ.ศภ.1 กสอ. ได้สอบถามถึงการดำเนินงานของที่ปรึกษา ความพึงพอใจในการรับคำปรึกษาแนะนำ โดยผู้ประกอบการมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโครงการเป็นอย่างมาก
16 ก.พ. 2021
ศภ.1 กสอ. ลุยแม่ฮ่องสอน เก็บข้อมูลปัญหา ความต้องการผู้ประกอบการหมู่บ้าน CIV หวังหาแนวทางฟื้นฟู เยียวยา
วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่หมู่บ้าน CIV จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อเยี่ยมเยียนผู้ประกอบการ ติดตามเก็บข้อมูล ความต้องการ ปัญหา และอุปสรรคช่วงสถานการณ์โควิด - 19 1. หมู่บ้าน CIV บ้านผาบ่อง : อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็น “ชุมชนลุ่มน้ำปายตอนล่าง บ้านผาบ่อง” เป็นชุมชนที่มีจุดเด่นในด้านความหลากหลายทางวัฒนธรรมเนื่องจากเป็นชุมชนที่มีการอยู่ร่วมกันของชาวไตหรือไทใหญ่ และชาวปกาเกอะญอ ซึ่งอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียว โดยมีผลิตภัณฑ์เด่นจากการนำวัตถุดิบต่าง ๆ ในพื้นที่มาพัฒนาเป็นของฝาก อาทิ ผ้าทอพื้นเมืองตากีญะ ถั่วลิสงลายเสือคั่วเกลือ น้ำมันถั่วลิสง และข้าวน้ำแร่ผาบ่อง เป็นต้น 2. หมู่บ้าน CIV บ้านปางหมู : อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประชากรส่วนใหญ่ของชุมชน บ้านปางหมูเป็นคนไตหรือไทใหญ่ ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยวัฒนธรรมประเพณีของชนเผ่าที่สืบทอดกันมาเนิ่นนาน แต่ครั้งโบราณ มีความเชื่อ พิธีกรรม และประเพณีที่น่าสนใจเหมาะแก่การเที่ยวชมตลอดปี มีกลุ่มอาชีพที่หลากหลายเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์เด่นของชุมชน อาทิ น้ำมันงา ตัดเย็บเสื้อผ้า และการทำถั่วเน่าแผ่น เป็นต้น โดยผู้ประกอบการ civ ทั้ง 2 แห่ง ได้ประสบกับปัญหาสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด - 19 ทำให้ไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวในชุมชน แต่ผู้ประกอบการยังคงมีความพร้อม ปรับภูมิทัศน์ จุดเช็คอินให้มีความสวยงาม และจะพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็ง พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวหลังสถานการณ์คลี่คลายต่อไป
16 ก.พ. 2021
ผอ.ศภ.1 กสอ. เยี่ยมผู้ประกอบการแม่ฮ่องสอน มุ่งพัฒนาให้มีผลิตภัณฑ์ใหม่ คงความเป็นเอกลักษณ์ และสอดคล้องกับตลาด
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนเพื่อติดตามการดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อให้คงความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน และสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ดังนี้ 1. กลุ่มอาชีพตีเครื่องเงินบ้านละอูบ : อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน ผลิตและจำหน่ายเครื่องเงินที่มีความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์ นอกจากนี้ยังมีการผลิตผ้าพื้นเมืองจำหน่ายเพื่อเป็นของใช้ ของที่ระลึกให้กับนักท่องเที่ยว ซึ่งได้เข้าร่วมโครงการ “พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาสากล” จากการเข้าร่วมโครงการมีความประสงค์พัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้า โดยพัฒนาเป็นกระเป๋าผ้าทรงกล่อง เพื่อให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ 2. กาแฟสด ผ้าทอขนแกะโฮมสเตย์บ้านห้วยห้อม : อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน แหล่งผลิตกาแฟแบบครบวงจร ตั้งแต่การเพาะกล้า การผลิต การเก็บ การคั่วและบดกาแฟ จนกระทั่งบรรจุหีบห่อ จากนี้ยังมีการทอผ้าโบราณดั้งเดิม ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีเอกลักษณ์ตามลายดั้งเดิม เช่น ลายข้าวโพด ลายดอกเข็ม และลายใหม่ เช่น ลายเจดีย์ และลายดอกบัวตอง แปรรูปเป็น ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ย่าม ผ้าตัดเสื้อ ผ้าคลุมโต๊ะ ฯลฯ เป็นต้น 3. กลุ่มผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีต่ากีญะ : อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ผลิตและจำหน่ายผ้าทอมือย้อมสีธรรมชาติ ผ้าทอกะเหรี่ยง แปรรูปเป็นสินค้าอื่นๆ เช่น ผ้าพันคอ เสื้อ ผ้าถุง กระเป๋า ปลอกหมอน ผ้าคลุมไหล่ เข้าร่วมกิจกรรม “พัฒนานักออกแบบเพื่อผู้ประกอบการ - Design Savvy” ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์กระเป๋าสะพาย Crossbody และผลิตเสื้อผ้าสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่มีรูปร่างขนาดใหญ่ ทำให้เพิ่มยอดขายให้กับกลุ่มได้มากขึ้น
15 ก.พ. 2021
ศภ.1 กสอ. ร่วมพิจารณาปล่อยสินเชื่อโครงการ "สินเชื่อ เสริมพลัง สร้างอนาคต SME ไทย"
วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. ในฐานะคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ เข้าร่วมประชุม “คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ประจำจังหวัดเชียงใหม่ ครั้งที่ 1/2564 ณ ห้องประชุม สอจ.เชียงใหม่โดยมี นายสำเริง ไชยเสน รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุม และมีนายบุญอุ้ม วงศ์บุตร อสจ.เชียงใหม่ เป็นเลขาฯ การประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณากลั่นกรอง และวิเคราะห์เอสเอ็มอีที่มีคุณสมบัติ และเข้าข่ายได้รับการสนับสนุนโครงการ "สินเชื่อ เสริมพลัง สร้างอนาคต SME ไทย" ตามแนวทางและหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ซึ่งในวันนี้มีการพิจารณาคำขอและผ่านตามหลักเกณฑ์ทั้งสิ้นจำนวน 18 ราย วงเงิน 73.93ล้านบาท โดยส่งต่อให้SME Bank พิจารณาอนุมัติต่อไป โครงการ "สินเชื่อ เสริมพลัง สร้างอนาคต SME ไทย" มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสินเชื่อสนับสนุนให้เกิดการลงทุน ขยาย ปรับปรุงกิจการ เช่น สิ่งปลูกสร้าง เครื่องจักร/อุปกรณ์ ยานพาหนะ และระบบงาน เป็นต้น หรือเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนเสริมสภาพคล่อง สำรองเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ย 1 %ต่อปีตลอดอายุสัญญา วงเงินกู้สูงสุด 5 ล้านบาทต่อราย ระยะเวลากู้สูงสุด 7 ปี ปลอดเงินต้นสูงสุด 1 ปี โดยเปิดรับคำขอสินเชื่อ ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564 หรือเว้นแต่วงเงินสินเชื่อจะหมดก่อน
15 ก.พ. 2021
ศภ.1 กสอ. ลงพื้นที่ ณ สถานประกอบการ ติดตามการให้คำปรึกษาแนะนำอย่างต่อเนื่อง
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 พร้อมด้วย ผู้อำนวยการกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมและเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ ณ สถานประกอบการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ติดตามการดำเนินการให้คำปรึกษาแนะนำกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของโครงการ และตรงกับปัญหา และความต้องการของผู้ประกอบการอย่างแท้จริง โดยลงพื้นที่ ณ สถานประกอบการ ดังนี้ 1. วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผ้าทอมือลายโบราณ (พาดีผ้าทอ) : อ.เมือง จ.น่าน เข้าร่วมโครงการ “พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาสากล” ซึ่งมีความต้องการพัฒนาลายผ้าซิ่นทอมือ ให้มีความสวยงาม แปลกใหม่ แต่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดน่าน ที่ปรึกษาจึงให้คำปรึกษาแนะนำการทอผ้า โดยแกะลายจากผ้าซิ่นที่นางสีไวสวมใส่ (นางสีไวเป็นตัวละครจากเรื่อง คัทธณะกุมารชาดก ซึ่งเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในวัดภูมินทร์ จ.น่าน) 2. กลุ่มส่งเสริมอาชีพบ้านเชียงราย : อ.เมือง จ.น่าน เข้าร่วมโครงการ “พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาสากล” ซึ่งมีความต้องการต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอ ที่เดิมทีจำหน่ายเฉพาะผ้าทอเป็นผืน เพื่อให้ลูกค้านำไปตกแต่งสินค้า และผลิตภัณฑ์เท่านั้น ที่ปรึกษาจึงให้คำแนะนำพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้คงความเป็นเอกลักษณ์ลายผ้าทอ (ลายดอกผักแว่น) ของชุมชนที่สืบทอดมานานกว่า 100 ปี เป็นปลอกหมอนอิง ผ้าคาดเตียง ผ้าคาดโต๊ะ เป็นต้น โดยผสมผสานกับความทันสมัยเพื่อให้ตรงกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย 3. บริษัท แม่ลัวคอฟฟ์ จำกัด : อ.เมือง จ.แพร่ เข้าร่วมกิจกรรม “พัฒนาผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมกาแฟตลอด ห่วงโซ่เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์” โดยเข้าเยี่ยมชมสถานประกอบการ พร้อมหารือแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมกาแฟในพื้นที่
08 ก.พ. 2021
ศภ.1 กสอ. เสริมแกร่ง ผู้ประกอบการพื้นที่จังหวัดน่าน มุ่งเพิ่มประสิทธิภาพผู้ประกอบการให้เข้มแข็งทุกด้าน
วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. พร้อมด้วย ผกธ. และเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ ณ สถานประกอบการพื้นที่จังหวัดน่าน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ติดตามการดำเนินการให้คำปรึกษาแนะนำกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของโครงการ และตรงกับปัญหา และความต้องการของผู้ประกอบการอย่างแท้จริง โดยลงพื้นที่ ณ สถานประกอบการ ดังนี้ 1. ติดตามการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิต กิจกรรม “การพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะ” ณ สหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินท่าวังผา จำกัด : อ.ท่าวังผา จ.น่าน ผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตร อาทิ พริก ฟักทอง ข้าวโพด ดาวอินคา เป็นต้น โดยเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการตากแห้งด้วยโซลาร์โดมแบบพาราโบล่าโดม พร้อมติดตั้งอุปกรณ์ sensor เช่น Temp.sensor และ Humidity Sensor เพื่อควบคุมอุณหภูมิและความชื้นให้มีความเหมาะสม 2. ติดตามการเพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับอุตสาหกรรมกาแฟอะราบิก้าภาคเหนือ กิจกรรม “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้วยนวัตกรรมและงานวิจัย” ณ วิสาหกิจชุมชนแมนดารินคอฟฟี่ : อ.ปัว จ.น่าน โดยการพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ "กาแฟแคปซูลจาก Peaberry" พร้อมร่วมทดสอบชิมและประเมินผลผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาภายใต้โครงการ 3. ติดตามการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ กิจกรรม “พัฒนานักออกแบบเพื่อผู้ประกอบการ (Design Savvy) ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพเชิงนวัตกรรมและการออกแบบ : IDEA House” ณ ปัว นพเก้า : อ.ปัว จ.น่าน ซึ่งต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทผลิตภัณฑ์แฟชั่น กลุ่มเป้าหมายเป็นวัยรุ่น ถึงวัยทำงาน 4. ติดตามการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการตลาด ณ สหกรณ์สามเณรนักเรียน สหกรณ์ร้านค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน : อ.ปัว จ.น่าน โดยให้คำแนะนำและร่วมตกแต่งหน้าร้านจำหน่ายสินค้า เพื่อให้มีความน่าสนใจ ดึงดูดนักท่องเที่ยว และเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าชุมชน 5. ติดตามการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการสร้างเครือข่ายและการรวมกลุ่มคลัสเตอร์ ณ ร้านเฮือนฮังต่อ กิจกรรม “พัฒนาการรวมกลุ่ม SMEs และเชื่อมโยงอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป" : อ.เมือง จ.น่าน โดยหารือแนวทางการพัฒนาเกษตรแปรรูปร้อมรับโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการในพื้นที่ อาทิเช่น ด้านการพัฒนาคุณภาพเมล็ดกาแฟ ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป และด้านการพัฒนามาตรฐานเกษตรแปรรูป โดยเชื่อมโยงความต้องการผู้ประกอบการกับโครงการที่ได้การจัดสรรงบประมาณประจำปี 2564
04 ก.พ. 2021
ศภ.1 กสอ. ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินการให้คำปรึกษาแนะนำ
วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. พร้อมด้วย ผกธ. และเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานกิจกรรมต่างๆ ณ สถานประกอบการพื้นที่จังหวัด ลำปาง แพร่ และน่าน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ติดตามการดำเนินการให้คำปรึกษาแนะนำกิจกรรมต่างๆ ที่ดำเนินการจัดจ้างที่ปรึกษาดำเนินการให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของโครงการ และเกิดประโยชน์กับผู้ประกอบการอย่างแท้จริง โดยลงพื้นที่ ณ สถานประกอบการ ดังนี้ 1. วิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวแต๋นทวีพรรณ : อ.เกาะคา จ.ลำปาง ผลิตและจำหน่ายข้าวแต๋นรสต่างๆ มากกว่า 50 รสชาติ เข้าร่วมกิจกรรม “การพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะ” ปัญหาที่พบ กระบวนการตากแห้งวัตถุดิบ โดยใช้โซล่าร์โดมแบบ พาราโบร่าโดม ซึ่งถือว่าเป็นโดมที่มีประสิทธิภาพสูง แต่ยังประสบปัญหาการดูแลติดตามระหว่างการตากแห้งที่สร้างความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิ ความชื้น ที่เหมาะสม และควบคุมให้มีความสม่ำเสมอ การให้คำปรึกษาแนะนำการดำเนินด้าน IOT โรงตากแห้งแบบพาราโบร่าโดม ให้สามารถติดอุปกรณ์ sensor เช่น Temp.sensor และ Humidity Sensor เพื่อทำให้ทราบค่าอุณหภูมิ และความชื้น 2. วิสาหกิจชุมชนผ้าทอมือไหมแกมฝ้าย : อ.เมือง จ.แพร่ ผลิตภัณฑ์จากผ้าหมักโคน เข้าร่วมโครงการ “พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาสากล” จากการเข้าร่วมโครงการ ผู้ประกอบการมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ คอลเลคชั่นเนคไท 3. วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปมะไฟจีนบ้านกอก : อ.ภูเพียง จ.น่าน ผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตร เช่น มะไฟจีน กระเจี๊ยบ ขิง กระท้อน เป็นต้น เข้าร่วมกิจกรรม “การพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะ” ปัญหาที่พบกระบวนการตากแห้งวัตถุดิบ โดยการใช้โซล่าร์โดม ซึ่งมีประสิทธิภาพการเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ยังไม่ดีเท่าที่ควร และยังประสบปัญหาการดูแลติดตามระหว่างการตากแห้ง การให้คำปรึกษาแนะนำการดำเนินการด้าน IOT โรงตากแห้ง ให้สามารถติดอุปกรณ์ sensor เช่น Temp.sensor และ Humidity Sensor เพื่อทำให้ทราบค่าอุณหภูมิ และความชื้น ทั้งนี้ ผอ.ศภ.1 กสอ. ได้สอบถามถึงการดำเนินงานของที่ปรึกษา ความพึงพอใจในการรับคำปรึกษาแนะนำ โดยผู้ประกอบการมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโครงการเป็นอย่างมาก
03 ก.พ. 2021
วิสาหกิจชุมชนพื้นที่จังหวัดแพร่ พร้อมใจเข้าร่วมอบรมหลักสูตร "การนำเทคโนโลยีเข้ามาขับเคลื่อนธุรกิจ" หวังโดนใจผู้บริโภคยุค New Normal
วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. พร้อมด้วย ผกธ. และเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “ด้านการนำเทคโนโลยีเข้ามาขับเคลื่อนธุรกิจ” ภายใต้โครงการสร้างความเข้มแข็งผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนสู่การประกอบการอย่างมืออาชีพ ณ โรงแรมธาริส อาร์ท โฮเทล อ.เมือง จ.แพร่ การฝึกอบรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการชุมชนให้มีความรู้ และมีทักษะในการประยุกต์ใช้เครื่องมือสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์ภูวเรศน์ ทรายสมุทร และอาจารย์ฉัตรณพัฒน์ สมบัติทิพย์ เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ และเทคนิคต่างๆ อาทิ Facebook Marketing , Facebook E marketplace , Facebook Live , Line OA , Line My shop เป็นต้น การฝึกอบรมในครั้งนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3 – 5 กุมภาพันธ์ 2564 ณ โรงแรมธาริส อาร์ท โฮเทล อ.เมือง จ.แพร่ มีวิสาหกิจชุมชนเข้าร่วมทั้งสิ้นจำนวน 25 คน ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว ได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส Covid-19 อย่างเคร่งครัด
03 ก.พ. 2021