การประชุมพิจารณาอนุมติสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียน ศภ.1 กสอ.
วันที่ 9 เมษายน 2563 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. ประธานคณะทำงานการพิจาณาเงินทุนหมุนเวียน ศภ.1 ประชุมเพื่อพิจารณาอนุมติสินเชื่อ จำนวน 2 ราย ผลการพิจาณาอนุมัติของทั้ง 2 ราย เจ้าหน้าที่จะดำเนินการแจ้งผลไปยังผู้ประกอบการ และดำเนินการในขั้นต่อไป
09 เม.ย. 2563
ศภ.1 กสอ.ร่วมป้องกัน COVID-19 ด้วยตู้อบฆ่าเชื้อ
วันที่ 7 เมษายน 2563 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 และสภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ ได้รับความอนุเคราะห์จาก นายวิเชียร เชิดชูตระกูลทอง รองประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ และ นายอภิพันธ์ ภู่ภักดี รองประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดเขียงราย ในการติดตั้งตู้อบฆ่าเชื้อต้นแบบ Hypochlorous acid (HOCL) บริเวณด้านหน้าอาคารอำนวยการ ศภ.1 กสอ. เพื่อคัดกรองเจ้าหน้าที่ผู้มาปฏิบัติงานและผู้มาติดต่อ เป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19
08 เม.ย. 2563
ศภ.1 กสอ. กิจกรรมการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคโคโรนา 2019 (COVID-19)
วันอังคารที่ 24 มีนาคม 2563 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ศภ.1 กสอ. เข้าร่วมกิจกรรมการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 โดยร่วมด้วยช่วยกันทำความสะอาดภายในอาคาร ราวบันได ประตู โต๊ะ เก้าอี้ของตนเอง เพื่อความสะอาดปลอดภัยต่อตนเองและผู้มาเยือน
25 มี.ค. 2563
ศภ.1 กสอ. kick off กิจกรรม มาตรการลด และคัดแยกขยะมูลฝอย
วันอังคารที่ 24 มีนาคม 2563 kick off กิจกรรมมาตรการลด และคัดแยกขยะมูลฝอย นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ศภ.1 กสอ. เข้าร่วมกิจกรรม “มาตรการลด และคัดแยกขยะมูลฝอย” ใน ศภ.1 กสอ. ภายใต้โครงการทำความดีด้วยหัวใจ ลดภัยสิ่งแวดล้อม กิจกรรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อร่วมรณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติก แก้วพลาสติก กล่องโฟม และหันมาใช้ภาชนะส่วนตัวของตนเอง ช่วยลดการเกิดขยะที่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ณ ศภ.1 กสอ. เพื่อความสะอาดและบรรยากาศที่น่าอยู่
25 มี.ค. 2563
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 ผลักดันศูนย์ปฏิรูป 4.0 เชื่อมโยงความต้องการด้านแพทย์แผนไทยเชียงใหม่
วันที่ 19 มีนาคม 2563 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ. 1 กสอ. พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ศภ. 1 กสอ. ร่วมให้การต้อนรับ คณะผู้บริหารและนักศึกษาแพทย์แผนไทย จากโรงเรียนพัฒนาปัญญาไท จำนวน 20 คน ศึกษาดูงาน ณ ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 ศภ. 1 กสอ. โดย ผอ.ศภ.1 กสอ.ได้กล่าวแนะนำเกี่ยวกับกิจกรรม/โครงการต่างๆของ ศภ. 1 กสอ. และบริการปรึกษาแนะนำในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภายใต้ศูนย์ ITC 4.0 ของ ศภ. 1 กสอ. ที่มุ่งเน้นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างครบวงจร ทั้งการปรับปรุงกระบวนการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์และออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีความเหมาะสมแก่ผู้ประกอบการในพื้นที่รับผิดชอบ 8 จังหวัดภาคเหนือ ซึ่งปัจจุบันศูนย์ ITC 4.0 ศภ. 1 กสอ. ให้บริการแก่ SMEs ในภาคอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแปรรูป โดยผู้ประกอบการสามารถขอรับบริการได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย รวมถึงมีแนวคิดในการขยายผลการให้บริการไปยังสาขาอุตสาหกรรมอื่น อาทิ สมุนไพรและเครื่องสำอาง สอดรับความต้องการในอุตสาหกรรมภาคบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่ถือเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพ รวมถึงเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากนี้ ยังแนะนำโครงการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา SMEs และแนะนำเกี่ยวกับบริการเงินทุนหมุนเวียน กสอ.อีกด้วย หลังจากนั้น ผอ.ศภ. 1 กสอ. พร้อมเจ้าหน้าที่ นำคณะฯ ดูงาน ณ จุดให้บริการเครื่องจักร (UNIT PP/UNIT OX/UNIT 1C) รวมถึงหารือแนวทางในการเชื่อมโยงบริการด้านต่างๆ ของ ศภ. 1 กสอ.ให้แก่อุตสาหกรรมภาคบริการต่อไป
20 มี.ค. 2563
นายภาสกร ชัยรัตน์ รสอ. เป็นประธานคณะอนุกรรมพิจารณาเงินทุนหมุนเวียนภาคเหนือ
วันที่ 17 มีนาคม 2563 นายภาสกร ชัยรัตน์ รสอ. ประธานคณะอนุกรรมการพิจาณาเงินทุนหมุนเวียนภาคเหนือ ประชุมร่วมกับนางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. และ ผอ.ศภ.2, ผอ.ศภ. 3 กสอ. เพื่อพิจารณาอนุมติสินเชื่อจำนวน 2 ราย ซึ่งทางเจ้าหน้าที่จะได้ดำเนินการแจ้งผลไปยังผู้ประกอบการและดำเนินการในขั้นตอนการทำนิติกรรมและเบิกจ่ายต่อไป
18 มี.ค. 2563
ศภ.1 กสอ. ร่วมกับอุทยานวิทย์ฯ มช. จัด Demo Day โชว์ผลงานแผนธุรกิจเตรียมความพร้อมปั้นสตาร์ทอัพ
วันที่ 12 มีนาคม 2563 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 ให้เกียรติเป็นประธานในกิจกรรม Demo day การประกวดนำเสนอแผนศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ “กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมอาหารภาคเหนือสู่การสร้างธุรกิจแบบยั่งยืน” ภายใต้โครงการเสริมสร้างนวัตกรรมการผลิตอัจฉริยะในอุตสาหกรรมอาหาร (Northern Thailand Food Valley to Smart Industry 4.0) ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีจังหวัดเชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 โดยมี ผศ.ดร.สุริยะ ทองมุณี ผู้ช่วยผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวต้อนรับ และสรุปภาพรวม กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมอาหารภาคเหนือสู่การสร้างธุรกิจแบบยั่งยืน โดยดำเนินการคัดเลือกผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในการพัฒนาแผนธุรกิจนวัตกรรมสู่การสร้างสตาร์ทอัพรายใหม่ทางด้านอาหารและเกษตรอัจฉริยะ จากจำนวนผู้เข้าสมัคร จำนวน 100 ราย เหลือเพียง จำนวน 33 ราย เพื่อร่วมกิจกรรม Startup Inspiration Talk ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้วยนวัตกรรม (Open Innovation) และกระบวนการสร้างธุรกิจสมัยใหม่ (Innovative Business Model) ให้คำปรึกษาการเขียนแผนธุรกิจ สร้างโอกาสในการเจรจาจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) คู่ค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ พร้อมการประกวดนำเสนอแผนธุรกิจ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการต่อยอดธุรกิจและสร้างพันธมิตร รวมระยะเวลา 6 เดือน ภายในงาน ได้จัดให้มีการประกวดนำเสนอแผนธุรกิจ Startup Pitching Challenge เพื่อยกระดับทักษะการนำเสนอแผนธุรกิจของผู้ประกอบการ และคัดเลือก 5 แผนธุรกิจที่มีความพร้อม โดดเด่น และสามารถต่อยอดได้จริง เพื่อรับโล่และเงินรางวัลรวมมูลค่ากว่า 70,000 บาท จากนางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 พร้อมพิธีมอบวุฒิบัตรแก่ผู้ผ่านการเข้าร่วมโครงการทั้ง 33 ราย และให้เกียรติกล่าวปิดโครงการ ในการนี้ จากการประกวดนำเสนอแผนธุรกิจดังกล่าว ผู้เข้าร่วมแข่งขันที่ได้รับรางวัลดังนี้ 1. บริษัท วนิดา โปรดักส์ จำกัด รางวัลชนะเลิศ มูลค่ารวม 35,000 บาท พร้อมโล่รางวัล2. Organic warehouse รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 มูลค่ารวม 20,000 บาท พร้อมโล่รางวัล3. ห้างหุ้นส่วนจำกัด มานา (2019) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 มูลค่ารวม 13,000 บาท พร้อมโล่รางวัล4. ผักและผลไม้อบกรอบ ผงโรยข้าว โล่รางวัลชมเชย 5. วิสาหกจิชุมชนกลุ่มเกษตรหางดงพัฒนา โล่รางวัลชมเชย และมีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมมากกว่า 100 คน ณ ห้องนกยูง ชั้น 3 โรงแรม ดิ เอมเพรส พรีเมียร์ เชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
13 มี.ค. 2563
ผอ.ศภ.1 กสอ. เยี่ยมชมสถานประกอบการ ฮัก ณ เชียงราย ติดตามผลลัพธ์โครงการภายใต้การดำเนินงานของ ศภ.1 กสอ.
วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม 2563 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. และคณะ เข้าพื้นที่ เพื่อเยี่ยมชม และติดตามผลลัพธ์ของสถานประกอบการ ณ บจก. ฮัก ณ เชียงราย ซึ่งเป็นผู้ผลิตสับปะรดนางแล และภูแลแปรรูป เคยเข้าร่วมโครงการต่างๆ ภายใต้การดำเนินงานของ ศภ.1 กสอ. คือ โครงการพัฒนาผู้ประกอบการชุมชนรุ่นใหม่ (Startup) และโครงการยกระดับวิสาหกิจชุมชนก้าวทัน ไทยแลนด์ 4.0 บจก. ฮัก ณ เชียงราย มีจุดเด่นของผลิตภัณฑ์อยู่ที่การนำสับปะรดนางแลและภูแล ซึ่งเป็นพืชทางภูมิรัฐศาสตร์ (GI) ของจังหวัดเชียงรายมาเพิ่มมูลค่า โดยการนำมาต่อยอดด้วยการแปรรูปให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ไม่ซํ้าแบบใคร อีกทั้งยังมีการคัดสรรส่วนผสมอย่างดีมาใช้ในการผลิตไม่ว่าจะเป็นเนยที่มีไขมันจากนมแท้จริง หรือแป้งที่ไม่มีไขมันทรานส์ และไม่ใช้นํ้าตาลทรายเป็นส่วนผสม ที่สำคัญยังเป็นการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ด้วยการนำสับปะรดภูแลทั้งลูกมาทำเป็นพาย ไม่ใช่การนำเศษเนื้อสับปะรดมาใช้ ทั้งนี้ นอกจาก ศภ.1 กสอ. แล้ว บจก. ฮัก ณ เชียงราย ยังได้รับความร่วมมือแบบบูรณาการกับหน่วยงานที่ให้บริการ SMEs (เครือข่าย RISMEP) ในพื้นที่จังหวัดเชียงรายอีกด้วย อาทิ ม.แม่ฟ้าหลวง และ ม.ราชภัฎเชียงราย เป็นต้น
03 มี.ค. 2563
ศภ.1 กสอ. จับมือเครือข่าย RISMEP จังหวัดเชียงราย ขับเคลื่อนแผนการสร้างระบบสนับสนุน SMEs แบบบูรณาการ หวังให้เกิดผลเป็นรูปธรรม จับต้องได้
วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม 2563นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. เข้าร่วมประชุม “การสร้างระบบสนับสนุน SME แบบบูรณาการ (RISMEP)” โดยมี นางกฤษนันท์ ทะวิชัย อสจ.ชร. ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุม การประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแนวทางความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่ให้บริการ SMEs โดยได้กำหนด ระยะเวลา งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ ในแผนการปฏิบัติงานเครือข่าย และพิจารณารายละเอียดแต่ละกิจกรรมร่วมกัน ประกอบไปด้วยกิจกรรมหลักๆ ดังนี้ การเชื่อมโยงเครือข่าย การพัฒนาองค์ความรู้ การให้บริการปรึกษาแนะนำเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ พร้อมทั้งสร้างความสัมพันธ์ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิกเครือข่าย มุ่งเน้นให้ผู้เข้าร่วมมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของเครือข่าย และตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างเครือข่าย RISMEP ซึ่งผลจากการประชุมในครั้งนี้ ได้อนุมัติให้ดำเนินงานตามแผนที่กำหนดขึ้น โดย มี สอจ.ชร. เป็นแม่ข่ายในการขับเคลื่อน การประชุมในวันนี้ มีสมาชิกเครือข่าย RISMEP ในพื้นที่จังหวัดเชียงรายเข้าร่วมทั้งสิ้น 10 หน่วยงาน ประกอบด้วย สอจ.ชร. , ศภ.1 กสอ. ,สสว. ,สำนักงานคลังจังหวัด , สำนักงานบังคับคดี , สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด , ธนาคาร SME D bank , ธกส. , ม.ราชภัฎเชียงราย , ม.แม่ฟ้าหลวง ณ โรงแรมแกรนด์วิสต้า อ.เมือง จ.เชียงราย
02 มี.ค. 2563
ศภ.1 กสอ. เดินหน้าเต็มกำลัง จัดฝึกอบรม คพอ. รุ่นที่ 370 พื้นที่จังหวัดลำพูน หัวข้อ “พัฒนาผู้ประกอบการสู่การบริหารธุรกิจแบบมืออาชีพ (Smart SME Program)”
วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 13.30 น. นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรม คพอ. รุ่นที่ 370 จังหวัดลำพูน หัวข้อ “พัฒนาผู้ประกอบการสู่การบริหารธุรกิจแบบมืออาชีพ (Smart SME Program)” ภายใต้โครงการพัฒนาผู้ประกอบการสู่การเป็นสมาร์ท SME และโกลบอล SME โดยมีนายสุภกิจ ชัยเมืองเลน ผกบ.ศภ.1 กสอ. กล่าวรายงาน นางจันทนา ไวยาวัจมัย อสจ.ลำพูน กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วย นายณรงค์ ธรรมจารี ประธานหอการค้าจังหวัดลำพูน , นายเชิดพงษ์ ไชยวัฒน์ธำรง นายกสมาคมส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการไทยจังหวัดเชียงใหม่ และรุ่นพี่ คพอ. จังหวัดลำพูน และจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดงาน การจัดฝึกอบรมดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการเจ้าของธุรกิจ หรือทายาทธุรกิจ ให้มีความรู้ มีทักษะในการประกอบธุรกิจ ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ให้สามารถนำความรู้และประสบการณ์ ไปปรับใช้ในการบริหารจัดการ และแก้ไขปัญหาของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งเสริมสร้างคุณลักษณะของการเป็นผู้ประกอบการที่ดี มีคุณธรรม ตลอดจนการสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกัน โดยหลักสูตรการฝึกอบรมมีระยะเวลาในการฝึกอบรมทั้งสิ้น 18 วัน ประกอบด้วย 1. กิจกรรมเสริมสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ เพื่อเสริมสร้างลักษณะของการเป็นผู้ประกอบการที่ดี มีคุณธรรมจำนวน 2 วัน 1 คืน ณ โรงแรมฮอร์ไรซันวิลเลจ รีสอร์ทแอนด์สปา อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ และ 2. การฝึกอบรมชี้แจงโครงการ และแนวทางในการบริหารธุรกิจยุคใหม่ จำนวน 16 วัน ซึ่งประกอบด้วยการบริหารธุรกิจเชิงกลยุทธ์ ด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การดำเนินการผลิต/บริการ การบริหารการเงิน การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการลงทุน และความรู้เรื่องการจัดตั้งธุรกิจ สำหรับผู้ที่มีโครงการขยายการลงทุน เป็นต้น ณ โรงแรมลำพูนวิล อ.เมือง จ.ลำพูน และ โรงแรมดิเอ็มเพรส อ.เมือง จ.เชียงใหม่ การฝึกอบรมในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากวิทยากรที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในการสอน และการเป็นที่ปรึกษาธุรกิจ ทั้งจากภาครัฐ เอกชน และสถาบันการเงิน เป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ โดยมีเจ้าของธุรกิจ ทายาทธุรกิจ หรือหุ้นส่วนธุรกิจ จากภาคการผลิต การค้า และบริการ ในจังหวัดลำพูน และจังหวัดเชียงใหม่ เข้าร่วมจำนวนทั้งสิ้น 40 คน ณ ห้องฅำชมพู โรงแรมลำพูนวิล อ.เมือง จ.ลำพูน
26 ก.พ. 2563