ศภ.1 กสอ. ข้ามพื้นที่ ศึกษาดูงาน Success Case ของ ศภ.2 กสอ. ด้านอุตสาหกรรมกาแฟ และสมุนไพร มุ่งหวัง แบ่งปัน-แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ต่อยอดพัฒนาผู้ประกอบการทั้ง 2 พื้นที่
วันที่ 19 พฤศจิกายน 2563 ณ อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. พร้อมด้วย ผกธ. ผกง. และเจ้าหน้าที่ ศึกษาดูงานสถานประกอบการที่ประสบความสำเร็จ (Success Case) ด้านอุตสาหกรรมกาแฟ สมุนไพร และเกษตรแปรรูป ในพื้นที่ ศภ.2 กสอ. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน เพื่อนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้มาปรับใช้กับผู้ประกอบการในพื้นที่ การศึกษาดูงานในครั้งนี้ ได้ศึกษาดูงาน ดังนี้ - “กาแฟจ่านรินทร์เขาค้อ” แหล่งปลูกกาแฟ แบบผสมผสานรวมกับ พืชผลประเภทต่างๆ แบบไร้สารพิษ ปลอดสารเคมีทุกขั้นตอน ซึ่งเข้าร่วมโครงการสร้างเครือข่ายอุตสาหกรรมเป้าหมาย (อาหารแปรรูป) ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพและยกระดับเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเป้าหมาย ของ ศภ.2 กสอ. - “สมุนไพรชญานิน” เป็นกลุ่มที่มีเจตนารมณ์ในการรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นให้สืบทอดยาวนาน เนื่องจากคนในชุมชนส่วนใหญ่มีการประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีผลิตผลทางการเกษตรหลายชนิด โดยเฉพาะมะขาม จึงมีแนวความคิดที่จะนำสมุนไพรเหล่านี้มาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างรายได้ โดยเน้นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า และผิวกาย ให้มีเอกลักษณ์ พร้อมทั้งนำงานวิจัย และนวัตกรรมมาใช้ในการผลิต โดยได้รับรางวัลต่างๆ อาทิ รางวัลชนะเลิศการประกวดผลิตภัณฑ์นวัตกรรม รางวัลสุดยอดสมุนไพร เป็นต้น ซึ่งเข้าร่วมโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ ที่มีอัตลักษณ์เพื่อเพิ่มมูลค่าในเชิงพาณิชย์ ภายใต้โครงการขับเคลื่อนโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ และ กิจกรรมพัฒนาผู้ประกอบการ OTOP สู่ดิจิทัล 4.0
19 พ.ย. 2563
ศภ.1 กสอ. เร่งช่วยเหลือผู้ประกอบการ เปิดประชุมพิจารณาเงินทุนฯ
วันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ณ ห้องประชุมพุดพิชญา ศภ.1 กสอ. นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. ประธานคณะทำงานการพิจาณาเงินทุนหมุนเวียน ศภ.1 กสอ. พร้อมด้วยคณะทำงาน และเจ้าหน้าที่เงินทุนหมุนเวียน ร่วมประชุมพิจารณาคำขอสินเชื่อผู้ประกอบการ จำนวน 1 ราย ซึ่งประกอบกิจการประเภทอุตสาหกรรม ง.2 เครื่องดื่ม (น้ำคาวตองและคอลลาเจนผสมดอกอัญชัน) ผลการพิจารณาที่ประชุมมีมติ เห็นควรพิจารณาอนุมัติ โดยให้นำเสนอเข้าที่ประชุมคณะอนุกรรมการเงินทุนหมุนเวียนภาคเหนือต้นเดือนธันวาคมต่อไป
17 พ.ย. 2563
ศภ.1 กสอ. จับมือ "Big Brother" ในพื้นที่ ขับเคลื่อนศูนย์ ITC เติมเต็มการให้บริการเครื่องจักรด้านการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร
วันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. พร้อมด้วย ผก.ศภ.1 กสอ. รับมอบเครื่องจักรจาก บริษัท ไอริส เฮลท์แอนด์แคร์ จำกัด ที่ให้ความอนุเคราะห์ บริจาคเครื่องจักรสำหรับให้บริการผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน และ SMEs ในพื้นที่ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านเกษตรแปรรูป และอาหารแปรรูป ณ ศูนย์ ITC ศภ.1 กสอ. โดยมีนายจิรภัทร วะจะนะ กรรมการผู้จัดการบริษัท ไอริส เฮลท์แอนด์แคร์ จำกัด เป็นผู้มอบ บริษัท ไอริส เฮลท์แอนด์แคร์ จำกัด เป็นผู้ผลิต ผลิตภัณฑ์และเครื่องจักรที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพ และอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลรวมถึงเครื่องจักรและอุปกรณ์ด้านเกษตรแปรรูป และอาหารสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งได้เล็งเห็นความสำคัญของ ศูนย์ ITC ในการให้บริการ ช่วยเหลือ พัฒนาผู้ประกอบการด้านเกษตรแปรรูป และอาหารแปรรูปในพื้นที่ จึงขอบริจาคเรื่องจักร ซึ่งประกอบด้วย เครื่องชุดบรรจุแคปซูล จำนวน 1 ชุด และเคื่องบดผงละเอียด จำนวน 1 ชุด ให้กับ ศูนย์ ITC ศภ.1 กสอ. เพื่อให้บริการแก่ผู้ประกอบการในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย ผอ.ศภ.1 กสอ. ได้รับมอบ และกล่าวขอบคุณ บริษัท ไอริส เฮลท์แอนด์แคร์ จำกัด ที่ช่วยทำหน้าที่เป็น Big Brother มีส่วนร่วมในการพัฒนา ช่วยเหลือผู้ประกอบการ ซึ่งในปีงบประมาณ 2564 นี้ ทาง ศภ.1 กสอ. ยังคงขับเคลื่อนการให้บริการศูนย์ ITC อย่างต่อเนื่อง และคาดว่าเครื่องจักรดังกล่าวที่ได้รับมอบ จะเป็นประโยชน์กับผู้ประกอบที่มาใช้บริการอย่างมาก
17 พ.ย. 2563
ผอ.ศภ.1 กสอ. นำทีม รับมอบนโยบายด้านการพัฒนา SMEs - วิสาหกิจชุมชน จาก รองผู้ว่าฯ เชียงใหม่
วันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. พร้อมด้วย ผก.ศภ.1 กสอ. เข้าพบนายสำเริง ไชยเสน รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อรับนโยบาย แนวทางการดำเนินงานพัฒนาส่งเสริม SMEs และวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ พร้อมทั้งร่วมแสดงความยินดีในโอกาสที่ท่านดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ โดยนายสำเริง ไชยเสน รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้เน้นให้ ศภ.1 กสอ. ทำงานเชิงบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ พร้อมเน้นย้ำให้สร้างสรรค์กิจกรรม โครงการใหม่ๆ ในการส่งเสริม พัฒนาผู้ประกอบการ ให้สอดรับกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เพื่อมุ่งช่วยเหลือผู้ประกอบการให้ผ่านพ้นจากผลกระทบที่ได้รับจากสถานการณ์ โควิด-19 ที่ผ่านมา โดยยินดีช่วยสนับสนุนเต็มที่ผ่านงบพัฒนาจังหวัด และงบกลุ่มจังหวัด ทั้งนี้ขอให้ปฏิบัติงานด้านการสรรหาผู้รับจ้าง และการกำกับดูแลการจ้างให้รัดกุม ถูกต้องตามระเบียบอย่างเคร่งครัด
16 พ.ย. 2563
กสอ. โชว์ต้นแบบแตกกอจากผู้ประกอบการรางผ้าม่าน สู่สมาร์ทฟาร์ม นวัตกรรมเอาใจสายสุขภาพ
วันที่ 13 พฤศจิกายน 2563 นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่เยี่ยมชมสถานประกอบการ บริษัท อี.พี. เดคคอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา เลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) นายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม กสอ. นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 (ศภ.1 กสอ.) และคณะผู้บริหาร กสอ. โดยมี นายสราวุฒิ สินสำเนา กรรมการผู้จัดการบริษัทฯ ให้การต้อนรับ พร้อมทั้งสรุปภาพรวมการดำเนินงานและนำเยี่ยมชมสถานประกอบการ ณ อ.สันทราย บริษัทฯ ดังกล่าว ดำเนินกิจการผลิตและจัดจำหน่ายรางผ้าม่านมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2543 ซึ่งเมื่อต้นปีที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ส่งผลให้มียอดขายลดลง จึงไดัปรับตัวหันมาจัดจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ และใช้กลยุทธ์การสร้างคอนเทนต์เพื่อดึงดูดลูกค้า ซึ่งในระยะเดียวกันนี้ บริษัทฯ ได้แบ่งเบาภาระค่าครองชีพของพนักงาน โดยจัดทำแปลงปลูกผัก ให้พนักงานเก็บเกี่ยวไปประกอบอาหาร และพัฒนาจากสวนผักทั่วไปสู่การนำเทคโนโลยีด้านดิจิทัลที่ได้รับคำแนะนำจากการเข้าโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรภาคอุตสาหกรรมสู่ผู้ประกอบการใหม่สู้วิกฤต COVID – 19 (แตกกอ) ของ กสอ. ที่เข้าไปช่วยพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพ สามารถเชื่อมต่อผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ (LINE) เพื่อให้การเพาะปลูกเกิดความสะดวกมากยิ่งขึ้น และเริ่มมองเห็นโอกาสทางธุรกิจ ตลอดจนศักยภาพที่ได้รับการพัฒนาของพนักงาน จึงได้ต่อยอดเป็นระบบ "บ้านสวนสมาร์ทฟาร์ม" พร้อมการดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาระบบปลูกผักให้มีประสิทธิภาพ เพิ่มศักยภาพในด้านต่าง ๆ เช่น การวัดระดับความชื้นของดิน การให้น้ำในปริมาณที่เหมาะสมกับการเติบโต และการจัดเก็บข้อมูลเพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูลบิ๊กดาต้า ใช้สำหรับการวิเคราะห์รูปแบบการเพาะปลูก และพร้อมพัฒนาเข้าสู่กระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้ผู้ที่ชื่นชอบการปลูกผักแต่ไม่มีเวลาดูแลรดน้ำได้นำไปใช้ สำหรับพื้นที่ภาคเหนือ กสอ. ได้ดำเนินการส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการทำธุรกิจให้สามารถแตกกอขยายสู่ธุรกิจใหม่ ผ่านการดำเนินงานของ ศภ. 1 จนสามารถแตกกอธุรกิจใหม่ได้ 12 กิจการ เกิดบุคลากรคุณภาพมาขับเคลื่อนการดำเนินงาน และมีความพร้อมที่จะต่อยอดไปสู่การประกอบธุรกิจใหม่ เป็นทางออกสำคัญที่ภาคอุตสาหกรรมสามารถปรับตัวให้รองรับการเปลี่ยนแปลงของภาคอุตสาหกรรม ช่วยลดความเสี่ยงจากการลงทุนเพื่อประกอบกิจการใหม่ และยังช่วยให้เกิดการจ้างงานได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังได้พบปะเดินเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์จากผู้ประกอบการเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการแตกกออีกด้วย PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
13 พ.ย. 2563
กสอ.หนุนนโยบายรวมกลุ่มเอสเอ็มอีเชิงพื้นที่-กลุ่มธุรกิจ ทางออกวิกฤตเศรษฐกิจได้ผลจริง ตั้งเป้าปี 64 ปั้นคลัสเตอร์ 29 กลุ่มใหม่
วันที่ 13 พฤศจิกายน 2563 นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่เยี่ยมชมสถานประกอบการ บริษัท สุภาฟาร์มผึ้ง จำกัด ร่วมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา เลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) นายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อำนวยการกองพัฒนาขีความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม กสอ. นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กสอ. และคณะผู้บริหารกสอ. โดยมี นางสาวสุวรัตนา ยาวิเลิศ กรรมการผู้จัดการ บริษัทฯ ให้การต้อนรับ พร้อมทั้งสรุปภาพรวมการดำเนินงานและนำเยี่ยมชมสถานประกอบการ ณ อ.แม่ริม อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กรมฯ มุ่งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการผ่านการส่งเสริมทักษะการประกอบการในด้านต่าง ๆ รวมทั้งการรวมกลุ่มผู้ประกอบการเพื่อให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน โดยใช้ 2 เครื่องมือสำคัญประกอบด้วย โครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม (คพอ.) ซึ่งถือเป็นเครื่องมือในระดับพื้นที่ในการรวมกลุ่มผู้ประกอบการทุกสาขาอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดการส่งต่อข้อมูลการดำเนินธุรกิจรและช่วยเหลือกันในระดับจังหวัดและภูมิภาค ทำให้เครือข่ายผู้ประกอบการมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาดำเนินการไปแล้ว 367 รุ่น ใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ และโครงการพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม หรือ คลัสเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือในระดับธุรกิจที่รวบรวมผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมเดียวกัน ก่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพภายในเครือข่ายอย่างมีประสิทธิภาพ โดย กสอ. ได้ขยายผลการขับเคลื่อนการผนึกกลุ่มผู้ประกอบการบนแนวคิด Cluster Hub คือ เชื่อมโยงอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพเชิงพื้นที่กับธุรกิจที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานสนับสนุน เพื่อให้เกิดการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้น และเกิดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างยั่งยืน โดยที่ผ่านมา กสอ. สามารถพัฒนาคลัสเตอร์ จำนวน 103 กลุ่ม และตั้งเป้าในปี พ.ศ. 2564 พัฒนาคลัสเตอร์รวมอีก 29 กลุ่ม และคาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจโดยรวมไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท สำหรับ บริษัท สุภาฟาร์ผึ้ง จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผึ้งจากเดิมที่เคยเลี้ยงเป็นอาชีพเสริม ต่อมาได้หันมาเลี้ยงอย่างจริงจัง เป็นอาชีพหลัก จนสามารถนำผลผลิตออกขายสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิต GMP/มาตรฐาน อย.จากคณะกรรมการอาหารและยา /มาตรฐาน GAP /HACCP /อาหารฮาลาล ซึ่งสินค้าทุกตัวต้องมีการตรวจสอบคณุภาพดีพร้อมก่อนส่งถึงมือลูกค้า นอกจากน้ำผึ้งธรรมชาติแล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรที่แปรรูปจากผึ้งชนิดอื่น ๆ ก็ยังคงเป็นที่ต้องการในตลาดเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 จ.เชียงใหม่ ผ่านกิจกรรม/โครงการต่าง ๆ อาทิ โครงการ คพอ. โครงการคลัสเตอร์ ซึ่งได้นำองค์ความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการต่อยอดทางธุรกิจจนประสบผลสำเร็จ โดยล่าสุดได้เข้าร่วมโครงการแตกกอธุรกิจผ่านการจัดทำโมเดลธุรกิจใหม่ ขยายฐานลูกค้าจากกลุ่มผู้สูงอายุ มาสู่กลุ่มคนวัยทำงาน โดยให้ใช้แฟลตฟอร์มออนไลน์เป็นเครื่องมือในการขาย ทั้งการนำเสนอโปรโมชันผ่านระบบไลฟ์ และการนำเสนอคอนเทนต์ผ่าน Youtube ของสุภาฟาร์ม PR.DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
13 พ.ย. 2563
"อธิบดีณัฐพล" ตรวจเยี่ยมสถานประกอบการด้านการแพทย์ถิ่นลำพูน
วันที่ 12 พฤศจิกายน 2563 นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (อสอ.) พร้อมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ นายเจตนิพิฐ รอดภัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา เลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) นายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อำนวยการกองพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรม กสอ. นายวัชรุน จุ้ยจำลอง ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กสอ. นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กสอ. คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ กสอ. ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานประกอบการที่เข้าร่วม กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร และกิจกรรมยกระดับมาตรฐานสถานประกอบการการผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ภายใต้ มาตรการฟื้นฟูอุตสาหกรรมไทยดีพร้อมทันที 90 วัน อสอ. และคณะฯ ได้เข้าเยี่ยมชม บจก. เอส.เจ. อีควิปเมนท์ แอนด์ แคร์ ซึ่งมี นายเสกสรร คชพรม เจ้าของกิจการ ให้การต้อนรับ โดย บริษัทฯ ดังกล่าว เป็นสถานประกอบการที่ผลิตเครื่องมือแพทย์ หน้ากากอนามัย โต๊ะวางเครื่องมือแพทย์ และ รถเข็นวีลแชร์ เป็นหลัก ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้เข้าร่วมโครงการกับ กสอ. ผ่านกิจกรรมยกระดับมาตรฐานสถานประกอบการผลิตเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ จนสามารถได้มาตรฐานโครงสร้างอาคาร การจัดวางเครื่องจักรให้สอดคล้องตามหลักเกณฑ์ ตลอดจนการจัดทำมาตรฐานในการผลิตเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในภายภาคหน้า และในเวลาต่อมาได้เข้าเยี่ยมชม หจก. ธวัชแมชชีนเทค โดยมี นายธวัช ธนันชัย เจ้าของกิจการ ให้การต้อนรับ พร้อมทั้งสรุปภาพรวมการดำเนินงานและนำเยี่ยมชมสถานประกอบการที่ดำเนินธุรกิจผลิตเครื่องจักรกล ซึ่งต่อมาทางผู้ประกอบการได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 จึงได้ปรับตัว ดำเนินการสร้างเครื่องจักรเพื่อผลิตหน้ากากอนามัย และพัฒนาจนปัจจุบันสามารถผลิตได้ 300,000 ชิ้นต่อวัน และเข้าร่วมโครงการฯ กับ กสอ. จนนำไปสู่การพัฒนาผลิตต้นแบบรถอีวี (รถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า )สำหรับผู้พิการและต้นแบบเครื่องพยุงสำหรับฝึกเดิน ทั้งนี้ ผู้ประกอบการยังได้มีความประสงค์ขอรับความช่วยเหลือด้านเงินทุนหมุนเวียนกับ กสอ. เพื่อนำเงินทุนที่ได้มาใช้ในการประกอบธุรกิจต่อไป PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
12 พ.ย. 2563
อสอ. ส่ง รสอ.เจตนิพิฐ ขึ้นเหนือ ร่วมสัมมนาระดมสมองการจัดทำยุทธศาสตร์และแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
วันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 นายเจตนิพิฐ รอดภัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 ได้รับมอบหมายจาก นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เข้าร่วมงานประชุมสัมมนาระดมสมองการจัดทำยุทธศาสตร์และแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ โดยภายในงานได้รับเกียรติจาก นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ณ โรงแรม ฮอไรซั่น วิลเลจ แอนด์ รีสอร์ท จังหวัดเชียงใหม่ กิจกรรมในครั้งนี้ จัดขึ้นโดย สถาบันไทย-เยอรมัน (TGI : Thai-German Institute) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งภายใต้โครงการศึกษาแนวทางการยกระดับผลิตภาพและสร้างมูลค่า (Value Creation) ของภาคเศรษฐกิจไทย ด้วยหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ และดิจิทัล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนที่นำทางเทคโนโลยี และกำหนดยุทธศาสตร์สำหรับขับเคลื่อนแผนที่นำทางเทคโนโลยี เพื่อให้ผู้ประกอบการ หน่วยงานราชการและหน่วยงานการศึกษา สามารถนำไปใช้ในการกำหนดทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ต่อไป โดยภายในงาน ได้มีบูธจาก สถาบันการศึกษา และผู้ประกอบการที่ได้รับการส่งเสริมจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ด้านการพัฒนาระบบอัตโนมัติ ที่ได้มาจัดแสดงบริเวณงานเพื่อเป็นตัวอย่างของการนำระบบอัตโนมัติมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้า จำนวน 10 บูธ มีผู้ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษาสนใจเข้าร่วมสัมมนาจำนวนกว่า 100 คน
11 พ.ย. 2563
รสอ. ภาสกร นั่งหัวโต๊ะพิจารณาอนุมัติสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนให้ผู้ประกอบการภาคเหนือ
วันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 นายภาสกร ชัยรัตน์ รสอ. ประธานคณะอนุกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนฯ ภาคเหนือ พร้อมด้วยนางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. นางมลทิรา พงษ์พานิช ผู้แทน ผอ.ศภ.2 กสอ. นายอภินันท์ เจริญสุข ผอ.ศภ.3 กสอ. , คณะอนุกรรมการ และเจ้าหน้าที่เงินทุนหมุนเวียนฯ ศภ.1 - 3 กสอ. ร่วมประชุมพิจารณาคำขอสินเชื่อผู้ประกอบการในพื้นที่รับผิดชอบของ ศภ.1 กสอ. จำนวน 1 ราย ซึ่งประกอบกิจการประเภทอุตสาหกรรม ง.3 ผ้าและเครื่องแต่งกาย (ชุดพื้นเมือง)
09 พ.ย. 2563
ผอ. ศภ.1 กสอ. ร่วมพิธีลงเสาเอก อาคาร depa ซึ่งจัดตั้งสำนักงานประจำภูมิภาคขึ้นในพื้นที่ ศภ.1 กสอ.
วันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 ณ ศภ.1 กสอ. นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. พร้อมด้วย ผกง. , ผกธ. , ผกบ. และเจ้าหน้าที่ ร่วมเป็นเกียรติในพิธีลงเสาเอก อาคารสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สาขาภาคเหนือตอนบน (depa) โดยมี ดร.ณัฐพล นิมมานพัชริทร์ ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เป็นประธานในพิธีดังกล่าว
09 พ.ย. 2563