ศภ.1 เข้าร่วมรับฟังนโยบายและร่วมตรวจราชการของผู้ตรวจราชการ กระทรวงอุตสาหกรรม (นายบรรจง สุกรีฑา) ในพื้นที่จังหวัดลำปาง


16 ม.ค. 2563    ปฐมพงษ์    3

วันที่ 16 มกราคม 2563 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. มอบหมายให้ นางพรสวรรค์ หมายยอด ผกช.ศภ. 1 กสอ. และนางทิพย์มณฑา จินะวงค์ นวอ.ชก เข้าร่วมรับฟังนโยบายและร่วมติดตามการตรวจราชการของนายบรรจง สุกรีฑา รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม รักษาการในตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม ในพื้นที่จังหวัดลำปาง เพื่อมอบนโยบาย รับฟังสภาพปัญหา พร้อมให้คำแนะนำ โดยมี นายศุภช้ย ไวยาวัจมัย สอจ.จังหวัดลำปาง และนายทานทัต ยมเกิด ผอ.ศว.กสอ. พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับ สรุปการตรวจ การมอบนโยบาย รับฟังสภาพปัญหา ให้คำแนะนำ จากการรายงานของ สอจ.ลำปาง และ ศว.กสอ. ในพื้นที่จังหวัดลำปาง ดังนี้
1. จากการตรวจติดตามการให้บริการของ อก. พบว่า ความต้องการด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ของผู้รับบริการของหลายจังหวัดยังมีความต้องการอยู่มาก จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดอบรมให้ความรู้ให้กับเจ้าหน้าที่ ให้สามารถให้บริการด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ได้อย่างทั่วถึง ซึ่งงบประมาณการจัดอบรมขอให้ ศภ.1 กสอ.ซึ่งได้รับงบประมาณกองทุนประชารัฐตอนบน 13 ล้าน จัดสรรงบประมาณบางส่วนเพื่อจัดกิจกรรมอบรมให้กับเจ้าหน้าที่ สอจ. ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
2. กิจกรรม ICT ท่านปลัด อก.ได้กำชับให้ทุกหน่วยงานภายใต้ อก. ดำเนินการให้บริการต่อไปอย่างต่อเนื่อง เพราะสามารถแก้ปัญหาให้กับ SMEs และวิสาหกิจชุมชนได้อย่างจริงจัง
3. ขอให้ปรับแนวทางการทำงานในการให้บริการร่วมกันในองค์กร เช่น การเข้าสถานประกอบการ ขอให้แต่ละกลุ่มงานร่วมไปให้บริการร่วมกัน เพื่อช่วยแก้ปัญหาและให้บริการได้พร้อมกันหลายๆด้าน
4. กรณีเกิดการร้องเรียน ควรมีการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจ ในด้านต่างๆให้กับผู้เกี่ยวข้อง และประชาชนให้รับทราบ เช่น ปัจจุบันข่าวหมอกควัน PM 2.5 ทำให้เกิดมลภาวะ จังหวัดลำปางมีเหมืองแร่ ประชาชนอาจจะเข้าใจว่าสร้างมลพิษ กรมโรงงานต้องสร้างความรู้และให้ความเข้าใจว่าหมอกควันที่เกิดขึ้นเกิดจากการเผาหญ้า เผาป่า เป็นส่วนใหญ่ และมาตรฐานการตรวจโรงงานอุตสาหกรรม กำหนดให้ดำเนินการตรวจ PM 10 ซึ่งแตกต่างจากการตรวจ PM 2.5 หากเกิดการร้องเรียนขอให้จบเรื่องภายในพื้นที่ ตามนโยบายของรัฐบาล และ อก. ภายใต้ความรับผิดชอบของผู้ว่าราชการจังหวัด
5. การส่งเสริม CIV ขอให้ความสำคัญด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้ทุกหมู่บ้าน CIV ได้รับการรับรองมาตรฐาน มผช. สำหรับด้านการท่องเที่ยวของชุมชนให้ประสานกับหน่วยงาน ททท. นอกจากนั้น ได้ยกตัวอย่าง บ้านออนใต้ จ.เชียงใหม่ ยังขาดกรบวนการต้อนรับที่ดี ต้องพัฒนาการให้ข้อมูลกับผู้รับบริการ เพื่อช่วยในการตัดสินใจเข้ารับบริการ ซึ่งอาจนำระบบ หรือ Socail Media มาเป็นตัวช่วยในการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ หรือการเข้าถึงลูกค้าได้
6. การดำเนินโครงการไม่ควรจ้างที่ปรึกษา 100% ขอให้ทุกหน่วยงานดำเนินการเองส่วนหนึ่ง จัดจ้างที่ปรึกษาที่มีความรู้ และชำนาญเรื่องที่เกี่ยวข้องอีกส่วนหนึ่ง เช่นการจัดอบรม ประชุม สัมมนา เจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการในส่วนของการกำหนดสถานที่ พิธีเปิด และภาพรวมของการจัดอบรม ประชุมสัมมนา สำหรับที่ปรึกษาจะจ้างในส่วนของการเป็นวิทยากรให้ความรู้ และวินิจฉัย ให้คำปรึกษาแนะนำ เป็นต้น
จากนั้น ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ศว.กสอ. เยี่ยมชมการให้บริการ ITC และเดินทางกลับ