ศภ.1 กสอ. ลงพื้นที่จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อเสริมสร้างทักษะอาชีพ และการสร้างงาน สร้างรายได้ แก่ราษฎร
วันที่ 24 กันยายน 2563 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กล่าวรายงาน การฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการ "สร้างอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ สู้วิกฤตโควิด - 19 โดยมี นายนเรศ ธำรงค์ทิพยคุณ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งมี นายพงษ์ศักดิ์ การดื่ม ปลัดอาวุโสอำเภอแม่วาง กล่าวต้อนรับ โดยมี หน่วยงานราชการต่างๆ ร่วมเป็นเกียรติ เช่น พัฒนาอำเภอแม่วาง นายก อบต.ตำบลบ้านกาด / ทุ่งปี๊ / ทุ่งรวงทอง/ แม่วิน พร้อมทั้ง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในตำบลต่างๆของอำเภอแม่วาง เป็นต้นการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ "กิจกรรมสร้างอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ สู้วิกฤตโควิด-19" มีวัตถุประสงค์ดังนี้1.เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ภายในชุมชน2.เพื่อบรรเทาผลกระทบที่มีต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของราษฎรจากสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ตามนโยบายรัฐบาล โดยการฝึกอบรมดังกล่าว มีทั้งสิ้นจำนวน 4 หลักสูตร ได้แก่ 1.การสานตะกร้าจากเส้นพลาสติก2.การทำยากันยุงสมุนไพร3.การทำของที่ระลึกจากเศษผ้า4.การร้อยลูกปัด ทั้งนี้ มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมจำนวนทั้งสิ้น 100 คน
24 ก.ย. 2020
ศภ.1 กสอ. โชว์ความสำเร็จ ในการร่วมผลักดัน ยกระดับมาตรฐานสถานประกอบการผลิตเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์
วันที่ 23 กันยายน 2563 ณ โรงแรมรติล้านนา ริเวอร์ไซด์ สปา รีสอร์ท จังหวัดเชียงใหม่ นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. เป็นประธานมอบวุฒิบัตร และกล่าวปิดโครงการ “ยกระดับมาตรฐาน สถานประกอบการผลิตเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์” โดยมีนายชาญวิทย์ เทพอุโมงค์ นวอ.ชก. กล่าวรายงานสรุปภาพรวมการดำเนินงานโครงการ และได้รับเกียรติจาก นายอนุชา มีเกียรติชัยกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ ผกธ.ศภ.1 กสอ. ผกง.ศภ.1 กสอ. และ ผกช.ศภ.1 กสอ. ร่วมเป็นเกียรติในพิธีปิดโครงการดังกล่าว โครงการ “ยกระดับมาตรฐาน สถานประกอบการผลิตเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์” มีวัตถุประสงค์เพื่อ เตรียมความพร้อมให้แก่สถานประกอบการในการขอรับรองระบบมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ และเพื่อเชื่อมโยงและขยายโอกาสทางการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้สามารถเข้าถึงการตลาดออนไลน์ผ่านแพลทฟอร์มต่างๆ ที่สอดคล้องกับตลาดในยุคปัจจุบัน โดยได้ดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2563 มีผู้ประกอบการผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ จำนวน 6 กิจการ โดยผู้ประกอบการทั้ง 6 กิจการ ได้รับคำปรึกษาแนะนำ ดังนี้ 1. วินิจฉัยสถานประกอบการ 1 Man/day เพื่อให้รู้ว่าผู้ประกอบการแต่ละกิจการต้องการเตรียมความพร้อมในการยื่นมาตรฐานด้านใด 2. รับคำปรึกษาแนะนำเชิงลึกตามที่ได้วินิจฉัย และตรงกับความต้องการ จำนวน 7 Man/day ต่อกิจการ 3. จัดทำฐานข้อมูล (ซอฟแวร์) 4. จัดทำคู่มือการเป็นผู้ประกอบการผลิตเครื่องมือแพทย์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ 5. เข้ารับการฝึกอบรมการตรวจติดตามภายใน (Internal Quality Audit) และแนะนำการ Platform Medical Hub ที่สอดคล้องกับแต่ละกิจการ ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 22-23 กันยายน 2563 นี้ ผลสำเร็จของการดำเนินโครงการ มีสถานประกอบการจำนวน 1 กิจการ สามารถยื่นขอรับรองมาตรฐาน สผ. และได้รับการรับรองมาตรฐาน สผ. เรียบร้อยแล้ว และมี สถานประกอบการจำนวน 2 กิจการ อยู่ระหว่างการยื่นขอรับรองมาตรฐาน สผ.
23 ก.ย. 2020
ผอ.ศภ.1 กสอ. ร่วมรับฟังการนำเสนอโมเดลธุรกิจรูปแบบใหม่
วันพุธที่ 23 กันยายน 2563 ณ ศภ.1 กสอ. นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. เข้าร่วมรับฟังการนำเสนอโมเดลธุรกิจรูปแบบใหม่ พร้อมกล่าวปิดโครงการ "พัฒนาศักยภาพบุคลากรภาคอุตสาหกรรม สู่ผู้ประกอบการใหม่สู้วิกฤต COVID-19" ภายใต้โครงการ 7 วิธีดีพร้อม พลิกวิกฤตโควิด - 19 ตามมาตรการฟื้นฟูอุตสาหกรรมไทยดีพร้อมทันที 90 วัน กิจกรรมนำเสนอโมเดลธุรกิจรูปแบบใหม่ จัดขึ้นเพื่อสรุปผลและนำเสนอผลสำเร็จจากการเข้าร่วมโครงการ "พัฒนาศักยภาพบุคลากรภาคอุตสาหกรรม สู่ผู้ประกอบการใหม่สู้วิกฤต COVID-19" จำนวนทั้งสิ้น 12 กิจการ โดยโครงการดังกล่าว มีระยะเวลาดำเนินการ 90 วัน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโอกาส สร้างรายได้ และเปลี่ยนธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 ให้สามารถต่อยอดโมเดลธุรกิจรูปแบบใหม่ โดยมีผู้ประกอบการเดิมเป็นพี่เลี้ยงในการพัฒนาแนวคิด โมเดลธุรกิจที่นำเสนอ เช่น 1. บริษัท อี. พี. เดคคอร์ (ประเทศไทย) จำกัด นำเสนอโมเดลธุรกิจ ด้วยการแตกไลน์ธุรกิจให้พนักงานในองค์กรสามารถเป็นเจ้าของธุรกิจได้ ด้วย "ชุดอุปกรณ์ iOT Baan Suan Smart Fram" สอดรับวิถีชีวิตแบบ new normal ให้ความสำคัญกับสุขภาพเพิ่มขึ้น 2. บริษัท นราห์ อินดัสตรี จำกัด นำเสนอโมเดลธุรกิจ ด้วยการนำวัตถุดิบที่มีอยู่มาพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็น New Product "เครื่องดื่มผง Boots up" สำหรับพนักงานออฟฟิศหรือวัยทำงานผู้รักสุขภาพ โดยแตกไลน์ธุรกิจให้รุ่นลูกบริหารจัดการ พร้อมขยายตลาดต่างประเทศ 3. บริษัท พี.อี. อิเลคทริค จำกัด นำเสนอโมเดลธุรกิจ ด้วยการนำ iOT มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ พร้อมพัฒนาผลิตภัณฑ์ "ตู้ควบคุมแบบรีโมท" ด้วยสถานการณ์โควิดทำให้ยอดขายลดลง จึงพัฒนาและเพิ่มช่องทางการขายแบบออนไลน์ ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น ภายใน 3 เดือนและมีการซื้อซ้ำ กิจกรรมในวันนี้ ผู้ประกอบการได้มีโอกาสแลกเปลี่ยน องค์ความรู้ และประสบการณ์ในการสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ร่วมกัน ซึ่งอาจมีโอกาสได้เชื่อมโยงธุรกิจร่วมกันต่อไปในอนาคต
23 ก.ย. 2020
ศภ.1 กสอ. โชว์ความสำเร็จ "ปั้น" 5 ผู้ประกอบการ พื้นที่จังหวัดแพร่
วันที่ 21 กันยายน 2563 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. กล่าวรายงาน และร่วมพิธีปิดโครงการ “ถอดรหัสนวัตกรรมอาหารพื้นถิ่น สู่อุตสาหกรรมอาหารแปรรูปและชีวภาพ” โดยมีนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีปิดโครงการ ซึ่งมีหน่วยงานต่างๆ ร่วมเป็นเกียรติ อาทิ รองผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย , รักษาการผู้อำนวยการกลุ่มงานข้อมูลและสถานการณ์ สสว.,ผู้จัดการศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจร จังหวัดแพร่ ,นายอนุวัธ วงศ์วรรณ นายก อบจ.แพร่ , นายบุญอุ้ม วงศ์บุตร อสจ.แพร่ , พาณิชย์จังหวัดแพร่ ,เกษตรจังหวัดแพร่ , ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดแพร่ และนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองแพร่ เป็นต้น โครงการถอดรหัสนวัตกรรมอาหารพื้นถิ่นสู่อุตสาหกรรมอาหารแปรรูปและชีวภาพมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปพื้นถิ่นด้วยองค์ความรู้ทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางอาหาร และการใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์เพื่อการควบคุมการผลิตอาหารที่ปลอดภัย พร้อมทั้งถอดสูตรอาหารให้ได้มาตรฐานด้านรสชาติ และเอกลักษณ์อาหารภาคเหนือ เป็นต้นแบบและกรณีศึกษาในการต่อยอด การแปรรูปอาหารพื้นถิ่นต่อไปในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการตอบสนองกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ที่ได้เข้ามาท่องเที่ยวจังหวัดแพร่ สำหรับโครงการดังกล่าว ศภ.1 กสอ. ได้ดำเนินงาน ดังนี้ 1. ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ ผ่านการสัมมนาหัวข้อ “การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปโดยการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8 - 9 กันยายน 2563 มีผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนาจำนวน 33 คน 2. ดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารพื้นถิ่นและบรรจุภัณฑ์ด้วยองค์ความรู้ทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีและการใช้เครื่องทางวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นต้นแบบและกรณีศึกษา จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์ ดังนี้ • ข้าวหลามป้าพา พัฒนาในรูปแบบผลิตภัณฑ์ Frozen • ขนมเส้นดวงเนตร(ขนมเส้นเก๋ากึ๊ก)พัฒนาในรูปแบบผลิตภัณฑ์Frozen • แกงฮังเลล้านนา พัฒนาในรูปแบบผลิตภัณฑ์ Frozen • จิ้นนึ่งเมืองแป้ พัฒนาในรูปแบบผลิตภัณฑ์ Frozen • น้ำพริกน้ำย้อยอาหวัง พัฒนาในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ความชื้นต่ำ โดยกิจกรรมพิธีปิดในวันนี้ เป็นการนำเสนอและเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการพัฒนาทั้ง 5 ผลิตภัณฑ์ ให้เกิดการรับรู้และประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางระบบสังคมออนไลน์ เพื่อเพิ่มช่องทางในการออกสู่ตลาด และทดสอบรสชาติอาหารเพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาและต่อยอดในการพัฒนาต่อไปในอนาคต ณ ร้านกินไทย ข่วงน้ำคือ อ.เมือง จ.แพร่
21 ก.ย. 2020
ศภ.1 กสอ. ศึกษาดูงาน ณ "ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมอาหารแปรรูป จังหวัดแพร่"
วันที่ 20 กันยายน 2563 ณ จังหวัดแพร่ นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ร่วมศึกษาดูงาน "ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมอาหารแปรรูป จังหวัดแพร่" ร่วมกับ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และนายบุญอุ้ม วงศ์บุตร อุตสาหกรรมจังหวัดแพร่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันหาแนวทางเชื่อมโยงและการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้ผู้ประกอบการในพื้นที่เข้ามารับบริการ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมอาหารแปรรูป จังหวัดแพร่ อยู่ในความดูแลของ อบต.แม่จั๊วะ ตั้งขึ้นเพื่อรองรับผู้ประกอบการในการแปรรูปอาหารและเครื่องดื่มจากสินค้าเกษตรในพื้นที่จังหวัดแพร่และจังหวัดใกล้เคียง ที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์ได้รับการรับรองจาก อย. และ GMP ตั้งอยู่ที่ ตำบลแม่จั๊วะ อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ มีเครื่องจักรต่างๆรองรับ อาทิ เครื่องอบไอน้ำฆ่าแมลง หม้อนึ่งฆ่าเชื้อ เครื่องบรรจุกระป๋อง เครื่องบรรจุขวดแก้ว เครื่องห่อฉลาก เป็นต้น การศึกษาดูงานครั้งนี้ ทำให้ได้เห็นถึงความพร้อมของศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมอาหารแปรรูป โดยจะหาแนวทางการเชื่อมโยงให้ผู้ประกอบการในพื้นที่มารับบริการต่อไป ทั้งนี้เบื้องต้นทาง ศภ.1 กสอ. จะช่วยประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการในพื้นที่ ที่มารับบริการ ณ ศูนย์ ITC ได้รับทราบและมาขอรับบริการต่อไป
20 ก.ย. 2020
ศภ.1 กสอ. แถลงสรุปผลความสำเร็จโครงการ 7 วิธีดีพร้อมพลิกวิกฤตโควิด
วันศุกร์ที่ 18 กันยายน 2563 ณ ห้องประชุม (Auditorium) อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STeP) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. เป็นประธานในพิธีปิดโครงการ และแถลงผลความสำเร็จ กิจกรรมพัฒนาสินค้าเกษตรรูปแบบใหม่หรือผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (Prototype) ด้วยกระบวนการเชิงนวัตกรรมและเทคโนโลยี ประจำปีงบประมาณ 2563 ภายใต้โครงการ “ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่ศตวรรษที่ 21” โครงการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ใหม่ด้วยนวัตกรรมและ เทคโนโลยีสมัยใหม่ ร่วมกับการเชื่อมโยงองค์ความรู้ ขยายผลงานวิจัยด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ต่อยอดสู่การผลิตสินค้าที่มีมูลค่าสูงในเชิงพาณิชย์ ที่เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรแปรรูปที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและเป็นแหล่งทดลอง ทดสอบการผลิตสินค้าต้นแบบในสาขาอุตสาหกรรมเป้าหมาย (Prototype) ผ่านศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม (ITC) โดยผู้ประกอบการที่ผ่านการเข้าร่วมโครงการจำนวน 60 กิจการ ต่างได้รับคำปรึกษาแนะนำในการพัฒนาสินค้ารูปแบบใหม่หรือผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (Prototype) ด้วยกระบวนการเชิงนวัตกรรม และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ต่อยอดสู่การผลิตจริงเชิงพาณิชย์ได้กว่า 60 ราย /60 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งคาดการว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาจากกิจกรรมดังกล่าว จะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ผู้ประกอบการรวมกันมากกว่า 13,000,000 บาท (สิบสามล้านบาท) งานในวันนี้ ผอ.ศภ.1 กสอ. ได้มอบรางวัลให้กับผู้ประกอบการ Success Case จำนวน 5 ราย ได้แก่ สิงหลฟาร์ม (เห็ดโคนน้อย) , หจก.ไบโอพอยท์มาร์เก็ตติ้ง (ยาสีฟันดีดีเฮิร์บ และลูกอมดีดีเฮิร์บ) , วิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยวเกษตรอินทรีย์ และวิถีคนเจียงฮาย (แกงฮังเล) , หจก.เห็ดน่านมั่นคง (เห็ดออรินจิทอดสูญญากาศ) และ หจก.ฟิลลิ่งเนเจอร์ (สเปรย์รางจืด) พร้อมกล่าวแสดงความยินดี และเน้นย้ำให้ผู้ประกอบการนำผลที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการ มาประยุกต์ใช้ ต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง โดยเชื่อมั่นว่า SMEs ในอุตสาหกรรมไทยจะมีผลิตภาพที่สามารถแข่งขันได้ ในเวทีโลก ด้วยการสร้างนวัตกรรม และเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีมูลค่าสูง เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขัน และสร้างกลไกในการสนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการ
18 ก.ย. 2020
คณบดี คณะอุตสาหกรรมเกษตร มช. เยือน ศภ.1 กสอ. หวังร่วมสร้างแนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต
วันที่ 17 กันยายน 2563 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. พร้อมด้วยนางสาวสุธีรา ตะริโย ผอ.กธ.ศภ.1 กสอ. ร่วมต้อนรับ ผศ. ดร. สุจินดา ศรีวัฒนะ คณบดี คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และผศ. ดร.ศศิธร ใบผ่อง หัวหน้าศูนย์บริการธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตร เพื่อร่วมหาแนวทางการพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์อาหารและเกษตรแปรรูปในพื้นที่ การหารือในวันนี้ ศภ.1 กสอ. และ มช. มีความมุ่งหวัง ร่วมมือกันยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหาร และเกษตรแปรรูปในพื้นที่ โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมหรือผลงานการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ พัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มต่าง ๆ อีกทั้งผลิตภัณฑ์สู่อนาคตที่มีกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน ผลิตภัณฑ์มีมูลค่าเพิ่ม และตรงกับความต้องการของตลาด โดยเน้นใช้เครื่องมือ และองค์ความรู้ที่ ศภ.1 กสอ. และ มช. มีอยู่แล้ว มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ประกอบการอย่างสูงสุด
17 ก.ย. 2020
ศภ.1 กสอ. จัดประชุมระดมความคิดเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เตรียมความพร้อม เดินหน้า "คลัสเตอร์ผึ้ง" ปี 64
วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน 2563 ณ ห้องประชุมหิรัญญิการ์ ศภ.1 กสอ. นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. เป็นประธานในการประชุม หารือ “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเตรียมความพร้อมการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมผึ้ง” ภายใต้โครงการการเตรียมความพร้อมและพัฒนาการขับเคลื่อนการรวมกลุ่มอุตสาหกรรมเชื่อมโยงธุรกิจสากล (เตรียมความพร้อมคลัสเตอร์ผึ้ง) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ปัญหาในการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมผึ้ง ทั้งในส่วนต้นทาง กลางทาง และปลายทาง และหาแนวทางในการแก้ไขหรือกลไกในการสนับสนุนช่วยเหลือ ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว การประชุมครั้งนี้ มีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมผึ้งและหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมผึ้ง จำนวนกว่า 15 หน่วยงาน ประกอบไปด้วย สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ , สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่ , สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ , ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตร ด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดเชียงใหม่ , ปศุสัตว์ เขต5 , สวทช.ภาคเหนือ , ศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจร เชียงใหม่ , คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ , ศูนย์ IQS มหาวิทยาลัยแม่โจ้ , อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ , ศูนย์ FIN มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , STeP มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , SME D Bank สาขาเชียงใหม่ ,สำนักงาน ธกส. จังหวัดเชียงใหม่ ผลของการประชุม ที่ประชุมได้รับทราบปัญหาตลอดห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมผึ้ง ทั้งในเรื่องของ ต้นทุนในการดำเนินธุรกิจที่สูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด สินค้าขาดการรับรองคุณภาพ สินค้าล้นตลาดและราคาตกต่ำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหน่วยงานต่างๆ รวมถึงสถาบันการศึกษา ได้เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาไว้ได้อย่างครอบคลุม แต่ทั้งนี้การดำเนินงานต้องอาศัยการบูรณาการของทุกหน่วยงาน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความราบรื่นและรวดเร็วและสอดคล้องกับปัญหาความเดือดร้อนของกลุ่ม เกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งและธุรกิจอุตสาหกรรมผึ้งอย่างแท้จริง โดยในตอนท้ายของการประชุม ผอ.ศภ.1 ได้สรุปทิ้งท้ายถึงความคาดหวังในการร่วมมือร่วมใจในการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมผึ้ง และขอความร่วมมือทุกหน่วยงานรวมถึงผู้ประกอบการและเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้ง ในการขับเคลื่อนโครงการ "คลัสเตอร์ผึ้ง" ที่จะดำเนินการเป็นปีที่ 1 ในปีงบประมาณ 2564 ที่จะถึงนี้
17 ก.ย. 2020
ศภ.1 กสอ. มุ่งมั่น "ยกระดับมาตรฐานสถานประกอบการผลิตเครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการแพทย์" อย่างต่อเนื่อง
วันที่ 17 กันยายน 2563 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ศภ.1 กสอ. และเจ้าหน้าที่สภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อกำกับติดตาม ตรวจเยี่ยมสถานประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรม "ยกระดับมาตรฐานสถานประกอบการผลิตเครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการแพทย์" ดังนี้ 1. ห้างหุ้นส่วนจำกัดโพรเทคกรูพ เทรดดิ้ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ สถานที่ผลิตและจัดเก็บรักษาเครื่องมือแพทย์ (หน้ากากอนามัย) 2. บริษัท ยูเนี่ยน ซายน์ จำกัด อ.เมือง จ.เชียงใหม่ จำหน่ายอุปกรณ์และเครื่องมือวิทยาศาสตร์, สารเคมี, อาหารเลี้ยงเชื้อ, เครื่องแก้ว, เครื่องมือวิทยาศาสตร์ และอุปกรณ์การแพทย์ ซึ่งหลังจากเข้าร่วมโครงการ สถานประกอบการได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างอาคารและปรับปรุงการจัดวาง สิ่งของ วัตถุดิบ เครื่องจักร ให้สอดคล้องตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตเครื่องมือแพทย์ พร้อมทั้งจัดเตรียมเอกสารขั้นต้น เช่น เอกสารการวาดผัง layout ของโรงงาน และแผนที่ตั้งโรงงานใหม่ , หนังสือรับรองที่ระบุวัตถุประสงค์ในที่จะผลิตเครื่องมือแพทย์ เป็นต้น เพื่อใช้สำหรับการยื่นขอรับรอง สถานที่ผลิตเครื่องมือแพทย์ กับทาง อย. ต่อไป ทั้งนี้ ผอ.ศภ.1 กสอ. ได้ให้กำลังใจเพื่อให้ผู้ประกอบการมุ่งมั่นในการยื่นขอรับรองมาตรฐาน เพื่อยกระดับมาตรฐานสถานประกอบการ และเพิ่มขีดความสามารถให้กับสถานประกอบการอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งให้ความยินดี สนับสนุนเครื่องจักร ณ ศูนย์ ITC เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้ามารับบริการในการสกัดน้ำมันจากใบโหระพา เพื่อต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อไป
17 ก.ย. 2020
ผอ.ศภ.1 เข้าพื้นที่ จ. ลำพูน กำกับติดตามงานช่วงโค้งสุดท้ายอย่างใกล้ชิด คาดหวังโครงการต่างๆ แก้ไขปัญหาผู้ประกอบการได้อย่างแท้จริง
วันที่ 16 กันยายน 2563 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่จังหวัดลำพูน เพื่อกำกับติดตาม ตรวจเยี่ยมสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการต่างๆ ดังนี้ 1. บริษัท เอส. เจ. อิควิปเม้นท์ แอนด์ แคร์ จำกัด สถานที่ผลิตและจัดเก็บรักษาเครื่องมือแพทย์ (หน้ากากอนามัย) เข้าร่วมกิจกรรม "ยกระดับมาตรฐานสถานประกอบการผลิตเครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการแพทย์" ซึ่งหลังจากเข้าร่วมโครงการ สถานประกอบการได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างอาคารและปรับปรุงการจัดวางเครื่องจักรให้สอดคล้องตามหลักเกณฑ์วิธีการในการผลิตเครื่องมือแพทย์ โดยมีแผนการยื่นขอรับรอง สถานที่ผลิตเครื่องมือแพทย์ กับทาง อย. ในวันที่ 21 ก.ย. 63 นี้ 2. บริษัท เนเชอรัล โซป เบส จำกัด ผลิตและจำหน่ายสบู่ออร์แกนิคทั้งภายในและต่างประเทศ เข้าร่วมโครงการเงินทุนหมุนเวียนฯ และโครงการ "ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่ศตวรรษที่ 21" ซึ่งหลังจากเข้าร่วมโครงการ ผู้ประกอบการมีเงินทุนในการซื้อวัตถุดิบในการผลิตสบู่ Aloe Vera เพื่อส่งออกไปยังอิรัก และได้รับการพัฒนาบรรจุภัณฑ์สบู่ที่บอกเล่าเรื่องราว ให้น่าสนใจ น่าซื้อ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์เพิ่มมากขึ้น โดยทั้ง 2 รายได้รับคำแนะนำจาก ผอ.ศภ.1 ให้เพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจ โดยนำเอา งานวิจัย นวัตกรรม เข้ามาในองค์กรเพื่อให้เกิดการพัฒนาและแข่งขันได้ พร้อมทั้งแจ้งกับผู้ประกอบการให้เข้ามาใช้บริการต่างๆ ของทาง ศภ.1 กสอ. ได้อย่างต่อเนื่อง
16 ก.ย. 2020