ศภ.1 กสอ. คัดเลือกผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เพื่อมุ่งสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์ และอัตลักษณ์พื้นถิ่นล้านนาด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
วันที่ 10 มีนาคม 2564 นางสาวนิรามัย ศิริสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. พร้อมด้วยนางสาวสุธีรา ตะริโย ผกธ. ศภ.1 กสอ. ร่วมประชุมคัดเลือกผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เข้าร่วม “กิจกรรมยกระดับผลิตภัณฑ์ด้วยนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ (Chiang Mai Creative Innovation Product)”ภายใต้โครงการยกระดับเชียงใหม่ด้วยนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ (Chiang Mai Creative Innovation) ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีคณะกรรมการร่วมคัดเลือกฯ ได้แก่ ผู้ช่วยผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้อำนวยการส่วนสร้างสรรค์ห้างหุ้นส่วนจำกัด เดคโคโมดา สตูดิโอ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ผลิตและส่งออกสินค้างานหัตถกรรมภาคเหนือ รองประธานฝ่ายอุตสาหกรรมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ และผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เชียงใหม่ กิจกรรมดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสร้างสรรค์พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และยกระดับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ทั้งนี้ มีผู้ประกอบการสนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรมและผ่านการคัดกรองผู้สมัครตามเงื่อนไขคุณสมบัติเบื้องต้น จำนวน 82 ราย และมีผู้สมัครผ่านการคัดเลือกในรอบสัมภาษณ์ครั้งนี้ จำนวน 50 ราย ณ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ โดยผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าโครงการจะได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะสู่การต่อยอดธุรกิจนวัตกรรม และการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในด้านต่างๆ อาทิเช่น การพัฒนาการผลิต ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์, การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์, การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ฯลฯ การให้คำปรึกษาเชิงลึก การคัดเลือกไปศึกษาดูงาน พร้อมกิจกรรมสัมมนาสร้างกลุ่มเครือข่ายต่อยอดธุรกิจ ต่อไป
10 มี.ค. 2021
ศภ.1 กสอ. ต้อนรับกลุ่มผู้แทนสถาบันเกษตรกรจังหวัดน่าน หวังช่วยขับเคลื่อนกลุ่มเกษตรกรให้เข้มแข็ง
วันที่ 9 มีนาคม 2564 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. พร้อมด้วย ผกธ. ผกช. ผกง. และเจ้าหน้าที่ ร่วมต้อนรับกลุ่มผู้แทนจากสถาบันเกษตรกรจังหวัดน่าน เจ้าหน้าที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัดน่าน และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (OSS.น่าน) ที่มาศึกษาดูงาน ณ ศภ.1 กสอ. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนสถาบันเกษตรเข้าสู่กลไกการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีมาสนับสนุน ในการสร้างโอกาสทางธุรกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่มีรูปแบบในการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน การศึกษาดูงาน ในครั้งนี้ ผอ.ศภ.1 กสอ.และเจ้าหน้าที่ได้นำคณะศึกษาดูงานเข้าเยี่ยมชม ศูนย์พัฒนาและทดสอบอัตลักษณ์กาแฟอะราบิก้าภาคเหนือ, ศูนย์อนุรักษ์หัตกรรมเครื่องเขินภาคเหนือ, ศูนย์ ITC และ UNIT1C ของ ศภ.1 กสอ. โดยได้รับความสนใจจาก กลุ่มผู้แทนสถาบันเกษตรกรจังหวัดน่านเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ สหกรณ์จังหวัดน่านร่วมกับ OSS น่าน จะได้นำความรู้จากการศึกษาดูงานในครั้งนี้ไปบูรณาการร่วมกันเพื่อพัฒนาและสร้างศักยภาพของสถาบันเกษตรกรต่อไป ซึ่ง ศภ.1 กสอ.ยินดีที่จะร่วมขับเคลื่อนเพื่อช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็งและสามารถอยู่ได้แบบยั่งยืนด้วยเช่นกัน
09 มี.ค. 2021
ศภ.1 กสอ. จับมือสมาคม คพอ. เชียงใหม่ สร้างเครือข่าย คพอ. รุ่นที่ 372 หวังปลุกพลังผู้ประกอบการในพื้นที่สู่การเป็นสมาร์ท SME และโกลบอล SME
วันที่ 8 มีนาคม 2564 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. เป็นประธานในพิธีเปิด อบรมโครงการพัฒนาผู้ประกอบการสู่การเป็นสมาร์ท SME และโกลบอล SME “คพอ. รุ่นที่ 372 จังหวัดเชียงใหม่” โดยมีนายบุญอุ้ม วงศ์บุตร อสจ. เชียงใหม่ ให้เกียรติกล่าวต้อนรับ และมีนายสุภกิจ ชัยเมืองเลน ผกบ. กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ และความเป็นมาของโครงการ โครงการ คพอ. มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการให้มีความรู้ มีทักษะในการประกอบธุรกิจ ทั้งด้านการบริหารจัดการ การผลิต การตลาด การเงินและบัญชี ให้สามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปปรับใช้ในการบริหารจัดการ และแก้ไขปัญหาของธุรกิจได้อย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งเสริมสร้างคุณลักษณะของการเป็นผู้ประกอบการที่ดี มีคุณธรรม โดยการอบรม “คพอ. รุ่นที่ 372 จังหวัดเชียงใหม่” จัดขึ้นระหว่างเดือน มีนาคม - เมษายน 2564 รวมระยะเวลาการฝึกอบรม 21 วัน แบ่งออกเป็น 2 กิจกรรม ดังนี้ - ระหว่างวันที่ 2 - 4 มีนาคม 2564 กิจกรรม AMT ณ โรงแรมเบลวิลล่า รีสอร์ท อ.หางดง จ.เชียงใหม่ - ระหว่างวันที่วันที่ 8 มีนาคม - 10 เมษายน 2564 กิจกรรมการอบรมทางวิชาการ ณ โรงแรมกรีนเลค รีสอร์ท อ.เมือง จ.เชียงใหม่ การอบรมในครั้งนี้มีผู้ประกอบการ คพอ. รุ่นที่ 372 เข้าร่วมอบรมทั้งสิ้นจำนวน 61 คน ทั้งนี้ ผอ.ศภ.1 กสอ. ได้กล่าวแสดงความยินดีกับผู้ที่เข้าร่วมอบรม และกล่าวถึงความคาดหวังที่ ศภ.1 กสอ. อยากให้ผู้ประกอบการได้รับจากการฝึกอบรม ทั้งการเพิ่มศักยภาพในการประกอบธุรกิจ ตลอดจนการสร้างเครือข่ายธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ต่อไป กิจกรรมในวันนี้นอกจากมีผู้ประกอบการ คพอ. รุ่นที่ 372 แล้ว ยังมีนายเชิดพงศ์ ไชยวัฒน์ธำรง นายกสมาคม คพอ. จังหวัดเชียงใหม่ และผู้ประกอบการรุ่นพี่ คพอ. จังหวัดเชียงใหม่ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดการอบรมดังกล่าว ทั้งสิ้นจำนวน 80 คน ณ โรงแรมกรีนเลค รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
08 มี.ค. 2021
ศภ.1 กสอ.ลุยพื้นที่จังหวัดน่าน ร่วมกิจกรรม Business Matching และติดตามเยี่ยมชมสถานประกอบการต่อเนื่องเป็นวันที่สอง
วันที่ 3 มีนาคม 2564 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. ร่วมลงพื้นที่เยี่ยมผู้ประกอบพื้นที่จังหวัดน่าน โดยมีท่านดร.สมชาย หาญหิรัญ สมาชิกวุฒิสภา พร้อมด้วยนายนิรันดร์ ยิ่งมหิศรานนท์ ผตร. และนายประยูร ใบยา รก.อสจ.น่าน นำทีมเข้าร่วมเป็นสักขีพยานและเยี่ยมชมผู้ประกอบการ ดังนี้ - ร่วมเป็นสักขีพยานการเจรจาจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) ระหว่างห้างหุ้นส่วนจำกัด น่านดูโอ คอฟฟี่ จังหวัดน่าน กับ ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงคั่วกาแฟวัง น้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งจัดขึ้นโดย SME Bank - เยี่ยมชมห้างหุ้นส่วนจำกัด ผลิตภัณฑ์อาหารปู่ทน อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ประกอบกิจการแปรรูปอาหาร เช่น แหนมเนือง แหนม หมูยอ แกงฮังเล ฯลฯ ซึ่งได้รับการสนับสนุนเงินกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนของกิจการ - เยี่ยมชมห้างหุ้นส่วนจำกัด เห็ดมั่นคง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน ประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปเกี่ยวกับเห็ด จากการติดตามผลในครั้งนี้ พบว่าผู้ประกอบการมีความพึงพอใจที่ได้รับการสนับสนุนจากการเข้าร่วมโครงการจากภาครัฐและเครือข่าย จนสามารถรวมกลุ่มดำเนินกิจการได้อย่างเข้มแข็ง
03 มี.ค. 2021
ศภ.1 กสอ. และ ศส.กสอ. ร่วมหารือผู้ว่าฯ น่าน มุ่งสร้างระบบเครือข่ายช่วยเหลือ SMEsในพื้นที่จังหวัดน่าน
วันที่ 3 มีนาคม 2564 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. พร้อมด้วย นางเกษราภรณ์ โกวิทลวากุล ผอ.ศส.กสอ. และเจ้าหน้าที่ ร่วมติดตามคณะ ดร.สมชาย หาญหิรัญ สมาชิกวุฒิสภา พร้อมด้วยนายนิรันดร์ ยิ่งมหิศรานนท์ ผตร. เข้าพบหารือนายนิพันธ์ บุญหลวง ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน และนายวิบูลย์ แววบัณฑิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน การเข้าพบในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพืี่อร่วมหารือแนวทางการบูรณาการร่วมกันระหว่างภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา และสถาบันการเงิน ในการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ในพื้นที่จังหวัดน่าน ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ท่าน ดร.สมชายฯ สมาชิกวุฒิสภา ได้กล่าวชื่นชมการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดน่าน ซึ่งที่ผ่านมามีการร่วมมือ ช่วยเหลือพัฒนาผู้ประกอบการเป็นอย่างดี จนประสบผลสำเร็จ พร้อมกันนี้ยังให้แนวทางการบูรณาการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs โดยการพัฒนารูปแบบ และระบบการให้บริการของเครือข่าย เพื่อการเข้าถึงบริการที่ง่าย สะดวก และครอบคลุม ซึ่งจะนำร่องจังหวัดน่าน ขอนแก่น และ 3 จังหวัดชายแดนใต้
03 มี.ค. 2021
ศภ.1 กสอ.ลงพื้นที่ติดตามผลการสร้างเครือข่าย "คลัสเตอร์เกษตรแปรรูป" จังหวัดน่าน
วันที่ 2 มีนาคม 2564 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ.พร้อมด้วย ผกบ.และเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่พบผู้ประกอบการ เพื่อติดตามผลการดำเนินงานของที่ปรึกษาภายใต้โครงการพัฒนาเครือข่ายคลัสเตอร์เกษตรแปรรูปจังหวัดน่าน ดังนี้ - ห้างหุ้นส่วนจำกัด น่านดูโอ คอฟฟี่ : ปลูกและจำหน่ายกาแฟอาราบิก้าในพื้นที่จังหวัดน่าน ซึ่งผู้ประกอบการมีความพึงพอใจจากการเข้าร่วมโครงการเป็นอย่างมาก เพราะหลังจากได้เข้าร่วมโครงการ ทำให้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างสมาชิกในกลุ่มคลัสเตอร์ ส่งผลให้สร้างรายได้และมีความเข้มแข็งสามารถพัฒนาต่อยอดด้านการตลาดได้ ทั้งนี้ห้างหุ้นส่วนจำกัด น่านดูโอ คอฟฟี่ ยังได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอี ตามแนวประชารัฐ เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนของกิจการอีกด้วย - ห้างหุ้นส่วน จำกัด เห็ดมั่นคง : ประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปเกี่ยวกับเห็ด ซึ่งผู้ประกอบการมีความพึงพอใจจากการเข้าร่วมโครงการ เพราะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างสมาชิกในกลุ่มคลัสเตอร์ และที่ปรึกษา ทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น และสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ตรงกับต้องการของตลาดได้
02 มี.ค. 2021
ศภ.1 กสอ. ลงพื้นที่ติดตามผลลัพธ์ และผลการดำเนินงานของที่ปรึกษา การพัฒนาผู้ประกอบการ พื้นที่จังหวัดเชียงราย อย่างต่อเนื่อง
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. พร้อมเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่จังหวัดเชียงราย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามผลลัพธ์และผลการดำเนินงานของที่ปรึกษา พร้อมทั้งรับฟังปัญหา ความต้องการของผู้ประกอบการ ในสถานการณ์ โควิด-19 โดยลงพื้นที่ ดังนี้ โครงการพัฒนาผู้ประกอบการชุมชนรุ่นใหม่ (Start up) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 25621.โรงงานแปรรูปเนื้อปลาของกิ๋นลำ : ต.บ้านดู่ อ.เมือง จ.เชียง เป็นผู้ผลิตไส้อั่วปลานิล ภายใต้แบรนด์ “ของ กิ๋น ลำ” โดยนางสุกัญญา คำโอภาส จุดเริ่มต้นเกิดจากในพื้นที่มีการเลี้ยงปลานิลเป็นจำนวนมากประกอบกับความต้องการของลูกค้าที่รักสุขภาพต้องการบริโภคเนื้อปลาทดแทนเนื้อสัตว์ชนิดอื่น จึงได้แนวคิดในการผลิตไส้อั่วปลานิลขึ้น หลังจากที่ผู้ประกอบการได้เข้าร่วมโครงการและได้รับคำปรึกษาแนะนำจากที่ปรึกษาจึงได้ปรับกระบวนการผลิตเพื่อลดของเสีย และสูตรการทำไส้อั่วที่ถูกปากรสชาติถูกใจลูกค้า สามารถขยายตลาดในจังหวัดใกล้เคียงเพิ่มขึ้น เช่น บิ๊กซีเชียงใหม่ ร้านราชพฤกษ์เชียงใหม่ เป็นต้น โครงการ “พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยทุนทางวัฒนธรรม” ดังนี้1.ร้านปันญานา (PAN-YA-NA) : ต.สันทราย อ.เมือง จ.เชียงราย โดยนางนงนุช วิริยะเกรียง ผู้ผลิตกระเป๋า-เครื่องแต่งกายที่บ่งบอกไลฟ์สไตล์โชว์ความเป็นเอกลักษณ์ด้วยการรังสรรค์ในการนำอัตลักณ์ของชุมชนผ่านเทคนิคฝีมือช่าง โดยได้นำผ้าทอและผลิตภัณฑ์จากผ้าของหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์บ้านสันกอง อ.แม่สาย จ.เชียงรายและกลุ่มผ้าหัตถกรรมผ้าทอบ้านหาดบ้าย อ.เชียงของ จ.เชียงราย มาเป็นวัตถุดิบในการผลิต ซึ่งทำให้เกิดการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายผ้าทอระหว่างผู้ประกอบการด้วยกัน 2. กลุ่มกระเป๋า Quilt ผ้าทำมือ : ต.รอบเวียง อ.เมือง จ.เชียงราย โดยนางสาววลีญา คำน้อย เป็นผู้ผลิตกระเป๋าจากผ้า โดยใช้เทคนิคการทำแบบควิลท์ ซึ่งเป็นการทำโดย Hand made แต่ลวดลายยังคงเป็นลวดลายควิลท์ทั่วไป ที่ปรึกษาจึงได้ให้คำแนะนำในการออกแบบ โดยเป็น การควิทล์แนวศิลปะแบบปิกัสโซ่ เพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์มากยิ่งขึ้น
24 ก.พ. 2021
ศภ.1 กสอ. ลงพื้นจังหวัดเชียงราย “เน้น” ติดตามโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (CIV) “หวัง” กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ในยุค โควิด-19
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. พร้อมเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่จังหวัดเชียงราย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามการดำเนินงานของที่ปรึกษา พร้อมทั้งรับฟังปัญหา ความต้องการของผู้ประกอบการ ในสถานการณ์ โควิด-19 ดังนี้ 1. บ้านผาหมี : ตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ซึ่งเข้าร่วมโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (CIV) ชุมชนบ้านผาหมี เป็นหมู่บ้านชาวไทยภูเขาเผ่าอาข่า ซึ่งอาศัยอยู่เป็นเวลานาน และเป็นชุมชนปลูกกาแฟจนเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายภายใต้แบรนด์ “กาแฟดอยผาหมี” นอกจากนี้ยังมีธรรมชาติที่สวยงาม มีภูเขาล้อมรอบ มีประเพณีวัฒนธรรมของเผ่าอาข่าที่เป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยว มีที่พักโฮมสเตย์พร้อมรับนักท่องเที่ยว โดยชุมชนมีความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นของฝากของที่ระลึกของชุมสำหรับนักท่องเที่ยว และ ศภ.1 กสอ. จะได้ดำเนินการต่อไป 2. บ้านสันกอง : ตำบลแม่ไร่ อำเภอแม่จัน จ.เชียงราย เชียงราย ซึ่งเข้าร่วมโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (CIV) ชุมชนบ้านสันกอง อยู่กันอย่างสุขสงบ ทำการเกษตรเป็นหลัก เป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็ง มีแหล่งเรียนรู้ด้านหัตถกรรม เช่น งานปักผ้าชาวเขา ถักโครเชต์ ทำน้ำสมุนไพร เป็นต้น ในช่วงของสถานการณ์โควิด-19 ทางชุมชนได้ปรับรูปแบบการขายเป็นการขายผ่านตลาดออนไลน์ และออกแบบผลิตภัณฑ์ตามที่ตลาดต้องการ เช่น การผลิตหน้ากากแบบผ้าที่ใช้ลวดลาย และงานปัก เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผ้า และทำให้ชุมชนเกิดงาน เกิดรายได้ อย่างต่อเนื่อง
24 ก.พ. 2021
ศภ.1 กสอ. ลงพื้นที่ติดตามผลลัพธ์การพัฒนาผู้ประกอบการชุมชนรุ่นใหม่ (Start up) พื้นที่จังหวัดเชียงราย
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. พร้อมเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่จังหวัดเชียงราย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามผลลัพธ์ของผู้ประกอบการ หลังจากได้เข้าร่วมโครงการของ ศภ.1 กสอ. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 เสร็จสิ้น พร้อมทั้งรับฟังปัญหา ความต้องการของผู้ประกอบการ ในสถานการณ์ โควิด-19 โดยลงพื้นที่ ดังนี้ 1. กลุ่มหัตถกรรมผ้าทอหาดบ้าย : ต.ริมโขง อ.เชียงของ จ.เชียงราย เข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้ประกอบการชุมชนรุ่นใหม่ (Start up) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 เป็นผู้ผลิตผ้าทอมือไทลื้อบ้านหาดบ้าย และเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากผ้าทอไทลื้อบ้านหาดบ้าย ได้นำองค์ความรู้จากการเข้าร่วมโครงการมาวางแผนในการทำงานให้เป็นระบบมากขึ้นกว่าเดิม และนำแนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์มาประยุกต์ใช้ในการออกแบบตรงตามกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย 2. บริษัท ทริปเปิล เจ ฟู๊ด แอนด์ เบเวอร์เรจ จำกัด : ต.ห้วยไคร้ อ.แม่สาย จ.เชียงราย เข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้ประกอบการชุมชนรุ่นใหม่ (Start up) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ผู้ผลิตและจำหน่ายผักผลไม้ทอดกรอบ ตราฟันสแนค (Fun Snack) ผลิตผลไม้อบกรอบ เช่น แตงโม ขนุน ลำไย สับปะรด ทุเรียน เป็นต้น ทั้งนี้โรงงานได้รับการรับรองมาตรฐาน GMP/HACP เรียบร้อยแล้ว และมีความต้องการรับรองมาตรฐาน HALAL เพื่อขยายตลาดต่อไปในอนาคต จากการติดตามผู้ประกอบการชุมชนรุ่นใหม่ (Start up) ทั้ง 2 ราย พบว่าผู้ประกอบการได้ผลลัพธ์ที่ดีจากการเข้าร่วมโครงการ โดยยังคงดำเนินการตามแผนธุรกิจที่ได้จัดทำขึ้นระหว่างที่เข้าร่วมโครงการอย่างต่อเนื่อง และได้ปรับเปลี่ยนแผนธุรกิจด้านการตลาด เพื่อรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 ได้อย่างดีเยี่ยม ทั้งนี้ ผอ.ศภ.1 กสอ. ได้แนะนำบริการต่างๆของ ศภ.1 กสอ. ซึ่งสามารถขอรับบริการได้เพิ่มเติม พร้อมทั้งให้กำลังใจผู้ประกอบการให้ผ่านพ้นวิกฤต และสถานการณ์ปัจจุบันไปให้ได้
24 ก.พ. 2021
ศภ.1 กสอ. ลงพื้นจังหวัดเชียงราย ติดตามผลการดำเนินงาน โดยมุ่งเน้นการรับฟังปัญหา และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.1 กสอ. พร้อมเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่จังหวัดเชียงราย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามการดำเนินงานของที่ปรึกษา พร้อมทั้งรับฟังปัญหา ความต้องการของผู้ประกอบการ ในสถานการณ์ โควิด-19 ดังนี้ 1.สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย : เพื่อหารือแนวทางการดำเนินงานโครงการในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ร่วมกับนางกฤษนันท์ ทะวิชัย อุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย นางสาวสร้อยสิรี เพชรสุวรรณ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม พร้อมติดตามความก้าวหน้าการบริการเงินทุนหมุนเวียนพร้อมทั้งให้คำแนะนำการพัฒนาหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เพื่อต่อยอดและพัฒนาผู้ประกอบการและชุมชนให้มีความพร้อมเพื่อรองรับการท่องเที่ยววิถีชุมชนชน (Next Nolmal) 2.บ้านครึ่งใต้ : ตำบลครึ่ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ซึ่งเข้าร่วมโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (CIV) หมู่บ้านครึ่งใต้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงและแหล่งเรียนรู้การจัดการเรื่องขยะของภาคเหนือ เป็นบ้านเกิดของพระเมธีวชิโรดม (ว.วชิรเมธี) โดยในชุมชนมีวิถีชีวิตที่สงบและเรียบง่าย มีผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ เช่น ผ้าทอ ผลิตภัณฑ์จากผ้าทอ ผลิตภัณฑ์จากขยะรีไซเคิล หัตถกรรมจักสานจากหวายและไม้ไผ่ 3.บ้านน้ำม้า : ตำบลสถาน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ซึ่งเข้าร่วมโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (CIV) หมู่บ้านน้ำม้าเป็นหมู่บ้านวิถีเกษตรธรรมชาติ เป็นจุดศูนย์กลางของชุมชนเชียงของ โดยมีผลิตภัณฑ์เด่นจากการนำวัตถุดิบต่าง ๆ ในพื้นที่มาพัฒนาเป็นของฝาก อาทิ กล้วยแปรรูป ผ้าทอ ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากตะไคร้ เครื่องจักสาน เสื้อผ้าพื้นเมือง ไว้คอยบริการนักท่องเที่ยว เป็นต้น ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการ CIV ได้รวบรวมข้อมูล จุดแข็ง จุดอ่อน ปัญหา อุปสรรค ของชุมชนเบื้องต้น เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริม และพัฒนา ให้มีประสิทธิภาพต่อไป 4. ติดตามเงินทุนหมุนเวียนกลุ่มเย็บผ้าบ้านต้นยาง : ตำบลหงาว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ผู้ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าพื้นเมืองโดยกลุ่มได้รับ คำสั่งซื้ออย่างต่อเนื่องซึ่งทำให้สมาชิกกลุ่มมีงานและรายได้อย่างต่อเนื่อง
23 ก.พ. 2021